ความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย จากการเรียนการสอนพลศึกษา (Physical Literacy)

สวัสดีวันหยุดนะครับ วันนี้ผมได้มีโอกาสอ่านบทความทางด้านวิชาการที่อาจารย์ ดร.ธนา ได้แชร์ไว้นะครับ เป็นบทความทางวิชาการที่ถูกตีพิมพ์ Journal of Sport and Health Science ที่เป็น Open access

โดยได้รับเงินสนับสนุนจาก มหาวิทยาลัยกีฬา แห่งเซี่ยงไฮ้ นะครับ ซึ่งบทความนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับการสร้างความท้าทายและความเป็นไปได้ในการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาสมัยใหม่นะครับ เลยอยากจะขอนำมาแบ่งปันกันนะครับ ต้องออกตัวก่อนนะครับว่าผมไม่ได้จบมาทางพลศึกษา มานะครับ

ในช่วงศตวรรษที่ 21 นี้นะครับ มีงานวิจัยและบทความทางด้านวิชาการเกี่ยวกับการเรียนการสอนพลศึกษาและความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย Physical Literacy เพิมขึ้นเป็นอย่างมากนะครับ โดยจุดประสงค์ของการศึกษานี้ก็เพี่อ จะทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมา เพื่อจะนำไปสู่การสร้างทฤษฎีที่รองรับนะครับ หรือเอาง่ายๆคือ คิดย้อนกลับจากล่างขึ้นข้างบนนั่นเอง ในที่นี่คือ การนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย ย้อนกลับไปสู่ทฤษฎี หรือ การสร้างทฤษฎีใหม่ๆ นั่นเองครับ รวมทั้งการวิเคราะห์ความถี่ และ นัยสำคัญของรูปแบบการพัฒนาความสามรารถในการ
เคลื่อนไหวจากบทความ และงานวิจัย ที่ถูกติพิมพ์ในฐานข้อมูลของ EBSCO ในการที่จะบ่งบอกถึงความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย และข้อมูลหรือหลักฐานประกอบ
ซึ่งผลจากการวิเคราะห์ และทบทวนวรรณกรรมนั้นพบว่า มีปัจจัยหลักทั้งสิ้น สามปัจจัยที่เป็นหลักในการพัฒนาการเคลื่อนไหวคนับ

1. ความคิดรวบยอด หรือ Concept เกี่ยวกับความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายและ บทบาทของพลศึกษาในการกระตุ้นการพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย
2. บทบาทในการพัฒนาของกีฬา รูปแบบ และ การพัฒนาเกี่ยวกับความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย
3. วิธีการ รูปแบบในการประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่สามารถต่อยอดไปสู่การเล่นกีฬา การค้นหาพรสวรรค์ทางด้านกีฬา

Image result for physical literacy

 

สิ่งที่จะต้องดำเนินการศึกษาในอนาคตนั่นก็คือ การสร้างแนว หรือ วิทยวิธีการสอน เพื่อสนับสนุนแนวคิดกับการพัฒนาการเคลื่อนไหวร่างกาย การต่อยอดการพัฒนาและปฏิวัติการจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียน และยังจะต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ เกี่ยวกับ ความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายและแนวปฏิบัติ คล้ายกับการพัฒนาการเคลื่อนไหวพื้นฐาน และ การค้นหาความสามารถพิเศษทางกีฬา ที่จะต้องมีการเชื่อมโยงกัน บทบาทของสภาบันอุดมศึกษาจะเข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก การวิจัยและพัฒนา รวมทั้งนวัตกรรม ในการพัฒนากรอบแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่จะเกี่ยวข้องกับ ความสามารถในการเคลื่อนไหวจะเข้ามามีบทบาทต่อการสร้างคุณค่าทางสังคม การหล่อเลี้ยงค้ำจุนสังคม รวมทั้ง แนวปฏิบัติที่ดี

Image result for physical literacy

เรื่องการพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย Physical Literacy นั้นมีการศึกษามานานานมากแล้วนะครับ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่วงการพลศึกษาของ ประเทศไทย ยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยมากหรือไม่ค่อยตื่นตัว ซึ่งจากบทความวิจัยข้างต้น นั้น นักกีฬา หรือ แม้กระทั่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่ง สำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศ ในอนาคตข้างหน้า การพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย Physical Literacy จึงมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างมาก

 

พลศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากครับ แต่ทำไมในประเทศไทยภึงจะลด ชั่วโมงการเรียนการสอนพลศึกษา เฮ้ย ผบ บริหารนโยบายตามความรู้สึกนี่หว่า

นอกจากจะพัฒนาการเคลื่อนไหวร่างกายแล้ว ยังส่งผลต่อ การเรียนรู้ทางด้านอื่นๆ เช่น การเรียนรู้ทางสังคม การขัดเกลาทางสังคม โดยใช้การเคลื่อนไหวและกีฬา เป็นสื่อ ตามหลักของ การพัฒนากลไกการเคลื่อนไหว (Motor Learning and Development) อันจะนำไปสู่ การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ไม่เพียงแต่เฉพาะทางด้านการเคลื่อนไหวหรือกีฬา แต่ยังหมายรวมทางด้านอื่นๆด้วย นี่คือประโยชน์ของการพัฒนาการเคลื่อนไหวร่างกาย Physical Literacy การที่จะทำให้เกิดการเรีัยนรู้นั้น ปัจจัยทางด้านจิตทยา Psychological Factor เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องนำมาบูรณา สำหรับผมเองมองว่า การพัฒนาการเคลื่อนไหวจะต้องใช้ทุกศาสตร์ ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก ซึ่งในอนาคตอันใกล้ สำหรับเมืองไทย ถ้าพลศึกษา ยังไม่ทำงานบูรณาการกับวิทยาศ่าสตร์การกีฬา การพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย ทำได้ยากมากครับ สำหรับ ประเทศไทย เพราะการจัดการเรียนการสอนพลศึกษานั้นยังยึดติดกับการสอนกีฬาอยู่

 

 

สำหรับประเทศไทยเรื่องของการพัฒนาการเคลื่อนไหวสำหรับเด็ก เป็นสิ่งที่สำคัญมากนะครับ การเปลี่ยนแปลงการเรียนการอสอนพลศึกษาสำหรับเด็ก ควรจะต้องมีการทบทวนนะครับ และการวิจัยที่ต่อเนื่องเพื่อทำให้เยาวชนของเราเติบโตขึ้นเป็นบุคคลที่มีคุณภาพเพราะ นอกจากการเคลื่อนไหวจะกระตุ้นพัฒนาการแล้ว ยังเป็นสิ่งสำคัญ ในการสร้างการเรียนรู้สำหรับเด็กด้วยนะครับ การพัฒนาสมอง การแก้ไขปัญหา ฯลฯ นี่คือความจำเป็นที่จะต้องรีบปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา สำหรับประเทศไทยเป็นการด่วนครับ

Suzanne Lundvall, Physical literacy in the field of physical education – A challenge and a possibility, Journal of Sport and Health Science, Volume 4, Issue 2, 2015, Pages 113-118, ISSN 2095-2546,