ขออภัยในความล่าช้าครับ เพราะเพิ่งจะมีเวลานั่งเขียนนี่แหละครับ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศเล็กๆ ที่มีระบบการพัฒนากีฬาที่เป็นระบบ ประเทศที่ได้เหรียญทองจากว่ายน้ำ ในกีฬาโอลิมปิคเกมส์ เหรียญเงินเทเบิลเทนนิส จาก อลป เกมส์ แต่วันนี้ผมจะขออนุญาตเขียนเกี่ยวกับกีฬา
หนึ่งนั่นก็คือ จักรยาน ครับ ประเทศสิงคโปร์ Calvin Sim จากประเภท omnium นับเป็นเหรียญทองประวัติศาสตร์เหรียญทองแรกของสิงคโปร์เลยนะครับ ที่หนักกว่านั้น คือ ประเทศสิงคโปร์ไม่มีแม้กระทั่งสนามเวลโลโดรม สถานที่ที่ช้ในการฝึกซ้อม แต่ทำไม่ นักกีฬาถึงได้รับความสำเร็จ
ผมเชื่อว่าหลายคนกำลังสงสัยนะครับ กีฬาจักรยานเป็นกีฬาที่ใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาเยอะมาก ในการฝึกซ้อม โดยเฉพาะประเภทลู่นะครับ สิ่งสำคัญสำหรับนักจักรยาน ก็ไม่ได้แต่กต่างอะไรกับกีฬาประเภทอื่นๆ ทั้ง สมรรถาภาพทางกาย ที่จะต้องใช้เป็นอย่างมาก เทคนิคและแทคติกในการขี่ รวมทั้งสภาพจิตใจ ที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ในประเทศสิงคโปร์เองนอกจากจะไม่มีสนามเวลโลโดรมแล้ว ในจักรยานประเภทถนน หรือการฝึกซ้อมประเภทถนน ก็ทำได้ยากมากครับเพราะ ถ้าหากท่านผู้อ่านเคยไปปรเทศสิงคโปร์ จะพบว่าจำนวนไฟแดง นั้นถี่มากครับ ถี่เสียจนการฝึกซ้อมทำแทบจะไม่ได้ครับ เนื่องจากข้อจำกัดที่กล่าวมาข้างต้น รวมทั้งสิงคโปร์ สมาคมจักรยานไม่ใช่กีฬาความหวัง สมาคมจักรยานจึงต้องหันมาพึ่งกาารวางแผนการฝึกซ้อมโดยใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาครับ โดยการฝึกซ้อมส่วนใหญ่นั้นจะไม่ใช่การฝึกซ้อมจากจักรยานครับ แต่เป็นการฝึกซ้อมด้วยเทรนเนอร์ หรือ Cycling Ergometer แทนครับเขียนมาถึงตรงนี้หลายคนคงจะนึกว่า การฝึกซ้อมด้วยเทรนเนอร์หรือ Cycling Ergometer นั้นมันสามารถเทรนได้จริงหรือ คำตอบคือ จริงครับ นักกีฬาจักรยานที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ มักจะใช้การฝึกจากเทรนเนอร์ ควบคู่กับการฝึกในสภาพจริง ครับ แต่ด้วยข้อจำกัดของสิงคโปร์ เขาก็เลยเอา เทรนเนอร์ ไปใช้กับการฝึกในสภาพอากาศจำลอง จาก Environmental Chamber ครับ ซึ่งจะจำลองสภาพบรรยากาศให้เหมือนกับการขี่จริงๆ เช่น การฝึกในที่ร้อนชื้น การฝึกในที่สูงเป็นต้นครับ ข้อดีของการฝึกด้วย Ergometer อีกประการนึงคือการสร้างโปรแกรมการฝึกซ้อมแบบความหนัก
สูงมากหรือ Supramaximal Training ได้นะครับ ซึ่งการฝึกนี้จะช่วยกระตุ้นความสามารถนักกีฬาให้เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็วและใช้เวลาใน
การฝึกซ้อมที่สั้นมากครับ และความนักสูงกว่าที่เราจะสามารถเทรนได้ปกติ เพราะ Wattbike นั้น สามารถสร้างแรงต้านได้สูงสุดถึง 3960 วัตต์ ครับ
ข้อดีของการฝึกด้วยเทรนเนอร์คือ สามารถควบคุมโหลดและโซนในการฝึกซ้อมได้ดีกว่าการฝึกในสภาพจริง เราสามารถทำโพร์ไฟลล์ของการฝึกซ้อมหรือการแข่งขันเข้าไปในเทรนเนอร์ได้ หรือ Cycling Ergomter ได้ และโหลดหรือแรงต้านก็จะมากกว่าการขี่ปกติ ดังนั้นการควบคุมตัวแปรในการฝึกซ้อมทางด้านสรีรวิทยาก็สามารถทำได้ดีกว่า รวมทั้งการที่เราได้รับข้อมูลฟีดแบคจากผลของการฝึกซ้อมแบบเรียลไทม์ก็ยิ่งทำให้ โค้ชและนักวิทยาศาสตร์การกีฬา และยังสามารถทำการฝึกแบบ Supramaximal (>100% ของปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุดของร่าางกาย) เป็นการฝึกที่ความหนักเกินกว่าความสามารถสูงสุดของร่างกายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งนักกีฬาระดับโลกส่วนใหญ่ใช้กัน การฝึกในลักษณะนี้จะไม่สามารถกระทำได้ด้วยการฝึกปกติครับ เพราะเราไม่มีเครื่องมือที่จะนำนักกีฬาไปสู่ระดับความหนักที่สูงกว่าความสามรถของตนเอง สามารถปรับโหลดของการฝึกซ้อมได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งการทดสอบเช่น 6 Second Sprint Test ที่เเป็นการทดสอบการทำงานของกล้ามเนื้อแบบ Fast Twtist ก็สามารถฝึกหรือทดสอบได้มากกว่าการ ขี่ในลู่ หรือ แบบถนน นี่จึงเป็นสาเหตุให้ทีมสิงคโปร์ประสบความสำเร็จ การวัดการออกแรงในการปั่นจักรยาน ความสัมพันธ์ระหว่างขาซ้ายและขาขวา มุมของแรงกด มุมของแรงดึง ที่จะช่วยให้การถ่ายแรงจากร่างกายไปสู่จักรยานได้สัมพันธ์กันและไม่เกิดแดรกหรือแรงต้าน ทำให้ความเร็วของรถไม่ลดลง ส่วนการขี่หรือการฝึกซ้อมในเวลโลโดรมนั้น เขาก็จะอาศัยประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ไทย มาเลเซีย ฮ่องกง ในการฝึกซ้อมครับ เพื่อพัฒนาเทคนิคและสร้างความคุ้นเคยในการขี่ครับ นอกจากนี้การทดสอบทางห้องปฏิบัติการก็ยังเป็นสิ่งสำคัญครับ เช่นการทดสอบ ปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด การทดสอบปริมาณกรดแลคติกสะสม การทดสอบความแข็งแรง หรือแม้กระทั่งการทดสอบทางด้านชีวกลศาสตร์เพื่อปรับปรุงองค์ประกอบของการขี่จักรยานเพื่อให้เกิดสมรรถนะสูงสุด ก็เป็นสิ่งที่เขาทำครับ
สรุปแล้วก็คือ ความสำเร็จของจักรยาน ของทีมชาติสิงคโปร์ครั้งนี้ มาจาก การฝึกซ้อมด้วยหลักของวิทยาศาสตร์การกีฬา SCI เลือกที่จะฝึกซ้อมจากทฤษฎีหลักการฝึกซ้อม ในการที่จะก้าวข้ามข้อจำกัดทางธรรมชาติ เป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จครับ และการทำงานเป็นทีม การเปิดใจยอมรับข้อคิดเห็นที่แตกต่าง่ จะทำให้กีฬาเพื่อความเป็นเลิศไปสู่ความสำเร็จได้โดยง่าย ขอให้จับตาดูอีกยาวๆครับ เอเชี่ยนเกมส์ปีหน้าสนุกแน่ครับ