การฝึกด้วยการลากเลื่อน Sled สามารถพัฒนาความเร็วในนักกีฬารักบี้ฟุตบอล

vina-speed-acceleration-sled

วันนี้แอดมินมีงานวิจัย เรื่อง ผลของการฝึกสปรินท์โดยการใช้แรงต้านจากการลากเลื่อน ที่มีต่อ อัตราเร่ง รูปแบบของความเร็ว ในนักกีฬารักบี้ฟุตบอล ซึ่งทำการศึกษาด้วยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอูดิเน ประเทศอิตาลี    การฝึกด้วยการลากเลื่อน Sled ที่ใส่น้ำหนักถ่วง นั้นเป็นที่นิยมในการฝึกเพื่อพัฒนาแรงในแนวราบ เช่น การฝึกเพื่อพัฒนาอัตราเร่งไปสำหรับการเคลื่อนที่ไปด้านหน้า ในบทความนี้ เราจะมาดูการฝึกเพื่อพัฒนาอัตราเร่ง ในนักกีฬารักบี้ฟุตบอล ในช่วงท้ายฤดูกาล

ในทีมกีฬาหลากหลายทีม เช่น รักบี้ ฟุตบอล อเมริกันฟุตบอล นั้น จะมีคุณลักษณะหรือความต้องการทางสรีรวิทยา นั้นจะมีความแตกต่างกัน ไปตามบทบาทและหน้าที่ของตำแหน่งนั้นๆ (3,4,6) ดังนั้น การฝึกเฉพาะบุคคล จึงมีความจำเป็นสำหรับการพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาซึ่งสามารถทำได้ ทั้งในช่วงการเตรียมการก่อนแข่ง (Pre-Season)และ ระหว่างการแข่งขัน (In-Season Training) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญสำหรับทีมกีฬา ในกีฬารักบี้ฟุตบอลนั้น มีความแตกต่างกัน ของผู้เล่นแต่ละตำแหน่ง ตามบทบาทที่แตกต่างกันไป ข้อมูลที่มีความจำเป็นเช่น ความแข็งแรงที่ส่งผลต่อความเร็ว Speed Strength พลัง (Power) และ รูปร่างของนักกีฬา (5,7) นั้นจะมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการออกแบบโปรแกมการฝึกเฉพาะบุคคล ตามตำแหน่ง การฝึกแบบที่มีปริมาณการฝึกซ้อมในระดับสูงเพื่อปรับเปลี่ยนไปเป็นการเพิ่มอัตราเร่ง ในช่วงเริ่มต้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักกีฬาในแต่ละตำแหน่ง ดังนั้น การทีเราสามารถกำหนดปริมาณการฝึกซ้อมที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลจึงเป็นสิ่งที่จะต้องตระหนักถึงเป็นอย่างมาก

เพื่อที่จะกระตุ้น การเพิ่มอัตราเร่งในช่วงต้น นั้น การฝึกซ้อมแบบการใช้แรงต้านจากการลากเลื่อน (Resisted Sled Sprint) จึงถูกนำมาใช้ ซึ่งการเลือกการฝึกนี้ มีงานวิจัยในการสนับสนุน และได้ผลที่ดี (1,11) ในการฝึกครั้งนี้ เราจะใช้ระยะเวลาในการฝึกเป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์ ในฤดูกาลแข่งขัน โดยการใช้แรงต้านจากการลากเลื่อน ที่มีต่อ การสร้างอัตราเร่ง และ รูปแบบของความเร็ว

ขั้นตอนการวิจัย

โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักกีฬารักบี้ฟุตบอล จำนวน 12 คน ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม โดยผู้เล่นในตำแหน่งกองหน้า ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม ควบคุม และผู้เล่นในตำแหน่งกองหลัง นั้นถูกจัดอยู่ในกลุ่มทดลอง โดยแต่ละกลุ่มจะได้รับโปรแกรมการฝึกซ้อมแบบเฉพาะเจาะจง โดยโปรแกรมการฝึกซ้อมปกติจะได้รับในทั้งสองกลุ่ม แต่กลุ่มทดลองจะรวม 1 เซสชั่นสำหรับการฝึกการลากเลื่อน ในการฝึกซ้อมกติ และกลุ่มควบคุม จะได้รับชดเชยด้วยการฝึกความแข็งแรงปกติ ในช่วงที่กลุ่มทดลองนั้นทำการฝึกลากเลื่อนโดยการฝึกการลากเลื่อนนั้น จะมีจำนวน 9 เซสชั่นในการฝึก ระหว่างวันที่ 4 กุมภา ถึง 25 มีนาคม โดยน้ำหนักที่ใช้ในการฝึกนั้น จะใช้ที่ค่าเฉลี่ยร้อยละ 50 และ ร้อยละ 65 ของความเร็วที่ลดลงตามด้วยน้ำหนักร้อยละ 80 และร้อยละ 108 ของหน้าหนักตัว โดยก่อนและภายหลังการฝึกซ้อมนักกีฬาทุกคนจะต้องทำการทดสอบ อัตราเร่ง และรูปแบบของความเร็ว (ASP) ซางจะใช้ข้อมูลของการบันทึกโพรไฟลล์จาก การวัดจาก GPS ในวันที่ 18 และ 25 มกราคม หลังจากการอบอุ่นร่างกายและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบเคลื่อนที่เสร็จสิ้น ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการทดสอบการวิ่งบนพื้นยางสังเคราะห์ ระยะทาง 30 เมตรเพื่อเก็บข้อมูลการเข้ารับโปรแกรมการฝึกซ้อม โดยการวัดการการวิ่งโดยการให้โหลดที่ 25,50,75 และ 100 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว และพักระหว่างเซต 3 นาที เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการกำหนดโหลดและน้ำหนักให้เหมาะสมสำหรับการฝึกซ้อม และภายหลังจากการฝึกโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มก็จะทำการทดสอบ Post Test ในเดือนมีนาคม ในการทดสอบนั้น จะทำการใช้อุปกรณ์ GPEXE Pro2 (Exelio SRL,Udine,Italy) สำหนรับการบันทักการทดสอบ ในการวัดอัตราเร่งระหว่างบุคคล รูปแบบของความเร็ว ในนักกีฬาแต่ละคน

 

ผลการศึกษา

ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการทดสอบก่อนการฝึกซ้อม ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทั้ง อัตราเร่งสุงสุด ความเร็วสุงสุด และ Tau (ระยะเวลาคงที่)

สำหรับภายหลังการฝึกพบว่า อัตราเร่งสูงสุดนั้นมีการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.21 จาก (Pre-Test 6.98 Post -Test 7.41 เมตรต่อวินาที2 สำหรับในกลุ่มควบคุมมีการลดลงเพียงเล็กน้อย (-3,68%, from 6.88 to 6.62 m∙s⁻²). รูปแบบอัตราเร่ง ความเร็ว a-v slope เพิ่มขึ้น 5.77 เปอร์เซ็นต์ (from -0.209 to -0.221 m∙h∙km⁻¹∙s⁻²) ในกลุ่มทดลอง ส่วนกลามควบคุม นั้นไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับเวลา Tau นั้นไม่พบความแตกต่างระหว่างทั้งสองกลุ่ม ก่อนและภายหลังการทดสอบ

อภิปรายผลการศึกษา

การทดสอบนี้ ช่วยยืนยันสมมติฐานในการฝึกซ้อมแบบเฉพาะเจาะจง (2,9,11) การใช้การฝึกที่มีปริมาณการฝึกซ้อมในระดีบส฿ง นี่น จะช่วยพัฒนารูปแบบของ a-v profile ในการเพิ่มความเร่ง แต่ไม่เพิ่มความเร็ว แม้ว่าโปรแกรมการฝึกใสกลุ่ม ควบคุม จะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ และแสดงให้เห็นว่า การฝึกเพื่อพัฒนาอัตราเร่ง และความเร็ว สามารถทำได้ในระหว่างฤดูกาลแข่งขัน เพื่อการรักษาและพัฒนาสมรรถนะของนักกีฬา ผลลัพธ์ที่คล้ายกันนี้ ยังถูกค้นพบเช่นเดียวกันในการศึกษาอื่น โดยการใช้น้ำหนักระหว่าง 10-20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว (2,9,11) ปริมาณโหลดที่ใช้ในการฝึกซ้อมนี้ ถูกตั้งเพื่อให้มีค่าสูงเพียงพอ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในช่วงการเร่งความเร็วต้น แต่ไม่สูงเกินที่จะส่งผลต่อการเกิดการบาดเจ็บสำหรับนักกีฬา (2)

และผลการศึกษายังพบว่า การฝึกที่ระดับแตกต่างกัน ที่ความหนักมากกว่า 10-20 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ยังมีการศึกษาค้นคว้าในวรรณกรรมอื่นๆด้วย (2,9,11)

ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า การฝึกแบบผสมผสานระหว่างการฝึกลากเลื่อนที่ถูกกำหนดความหนักให้เหมาะสมในนักกีฬาแต่ละคนนั้น สามารถรักษาระดับของสมรรถนะของนักกีฬา และ สามารถเพิ่มความสามารถในการสปรินท์ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

 

การนำไปประยุกต์ใช้

การศึกษาในครั้งนี้สามารถให้คำแนะนำกับผู้ฝึกสอน และเทรนเนอร์ ในการเพิ่มศักยภาพของนักกีฬา ในการออกแบบการฝึกแบบเฉพาะบุคคล ให้เหมาะสมตามตำแหน่งในการเล่น

 

Authors: Miramontes A.M.¹, Floreani M.¹ ², Botter A².

¹Department of Medicine, University of Udine, Udine, Italy
²School of Sport Sciences, University of Udine, Udine, Italy

References:

  1. Barr, Matthew & Sheppard, Jeremy & Newton, Robert. (2013). SPRINTING KINEMATICS OF ELITE RUGBY PLAYERS. Journal of Australian Strength and Conditioning. 21. 14-20.
  2. Cahill MJ, Oliver JL, Cronin JB, Clark KP, Cross MR, Lloyd RS. Influence of resisted sled-push training on the sprint force-velocity profile of male high school athletes. Scand J Med Sci Sports. 2020 Mar;30(3):442-449. doi: 10.1111/sms.13600. Epub 2019 Dec 5. PMID: 31742795.
  3. Ceri N. Anthropometric and Physiological Characteristics of Rugby Union Football Players. Sports Med 23, 375–396 (1997). https://doi.org/10.2165/00007256-199723060-00004
  4. Cometti G, Pousson M, Bernardin M, et al. Assessment of the strength qualities of an international rugby squad. In: Rodano R, Ferrigno G, Santambrogio GC, editors. Proceedings of the tenth ISBS Symposium; 1992 Jun 15–19; Milan. Milan: Edi. Ermes, 1992: 323–6
  5. Docherty D, Wenger HA, Neary P. Time motion analysis related to the physiological demands of rugby. J Hum Move Stud 1988; 14: 269-77
  6. Duthie G, Pyne D, Hooper S. Applied physiology and game analysis of rugby union. Sports Med. 2003;33(13):973-91. doi: 10.2165/00007256-200333130-00003. PMID: 14606925.
  7. Duthie G, Pyne D, Hooper S. Time motion analysis of 2001 and 2002 super 12 rugby. J Sports Sci. 2005 May;23(5):523-30. doi: 10.1080/02640410410001730188. PMID: 16195000.
  8. Lahti J, Huuhka T, Romero V, Bezodis I, Morin JB, Häkkinen K. Changes in sprint performance and sagittal plane kinematics after heavy resisted sprint training in professional soccer players. PeerJ. 2020a Dec 15;8:e10507. doi: 10.7717/peerj.10507. PMID: 33362970; PMCID: PMC7747683.
  9. Lahti J, Jiménez-Reyes P, Cross MR, Samozino P, Chassaing P, Simond-Cote B, Ahtiainen J, Morin JB. Individual Sprint Force-Velocity Profile Adaptations to In-Season Assisted and Resisted Velocity-Based Training in Professional Rugby. Sports (Basel). 2020b May 25;8(5):74. doi: 10.3390/sports8050074. PMID: 32466235; PMCID: PMC7281595.
  10. Morin JB, Petrakos G, Jiménez-Reyes P, Brown SR, Samozino P, Cross MR. Very-Heavy Sled Training for Improving Horizontal-Force Output in Soccer Players. Int J Sports Physiol Perform. 2017 Jul;12(6):840- 844. doi: 10.1123/ijspp.2016-0444. Epub 2016 Nov 11. PMID: 27834560.
  11. Petrakos G, Morin JB, Egan B. Resisted Sled Sprint Training to Improve Sprint Performance: A Systematic Review. Sports Med. 2016 Mar;46(3):381-400. doi: 10.1007/s40279-015-0422-8. PMID: 26553497.

Additional references:

Sprinting capacities of the football player: testing without testing – JB Morin

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง