ปัจจุบันระบบติดตามนักกีฬา หรือ Tracker ถูกนำมาใช้เป็นอย่างมากในกีฬาฟุตบอล แต่เราจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมการฝึกซ้อม
กับนักกีฬาได้อย่างไร มาวันนี้ ผมได้คุยกับ แอนโทนิโอ้ เดล ฟอสโก้ ฟิตเนสโค้ช จากทีม เอ็มโปลี ทีมนำ ในซีรีส์ B ว่า เขานำข้อมูลจาก แทรกเกอร์ไปใช้ได้อย่างไร นะครับ เรามาเริ่มคำถามกันเลย
คุณใช้ข้อมูลจากแทรคเกอร์บ่อยแค่ไหนในการฝึกซ้อม
ผมรู้สึกโชคดีมากที่ทีมให้อุปกรณ์ GPEXE มาให้ผมใช้ ผมใช้ในการฝึกซ้อมแทบจะทุกวัน ในเซสชั่นที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางกาย เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับความหนักในการฝึกซ้อม และผมยังใช้เครื่องมือ GPEXE ในระหว่างการแข่งขัน สำหรับนักกีฬาทุกคน ได้อย่างไม่มีปัญหา และไม่รบกวนประสิทธิภาพของนักกีฬา นอกจากนี้ยังทำให้ผมได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในระหว่างการฝึกซ้อม ตลอดจนการแข่งขัน เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงโปรแกรมการฝึกซ้อม ความหนักในแต่ละเซสชั่นการฝึกซ้อม
ข้อมูลตัวใดที่คุณได้จาก GPEXE แล้วคุณสนใจที่จะใช้มัน
ข้อมูลที่ได้จากเครื่อง GPEXE นั้น จะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจุดประสงค์ที่ผมตั้งเอาไว้ กับรูปแบบการฝึกซ้อมว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ ในแต่ละเซสชั่น หรือระหว่างการแข่งขัน ผมคิดว่าข้อมูลนี้เป็นขอมูลที่มีความเหมาะสมมาก ในการประเมินโหลดของการฝึกซ้อมในนักกีฬาของผม ซึ่งข้อมูลที่ผมใช้ก็ได้แก่ ระยะทาง พลังงานที่ใช้ไป และ พลังเฉลี่ย ผมใช้ข้อมูลเหล่านี้ ในการฝึกซ้อมของผม ในการประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมและประสิทธิภาพของนักกีฬา ซึ่งข้อมูลนั้นสามารถนำไปใช้ในการหาโหลด ในแต่ละช่วงเวลาต่างๆ รวมไปถึงช่วงเวลาที่ต่อเวลาพิเศษ หรือแม้กระทั่งในการทดเวลาการบาดเจ็บ ทำให้ทีมของเราได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะในขณะที่ทีมอื่นนั้นกำลังหมดแรง แต่นักกีฬาของเรายังไม่หมดแรง
นอกจากนี้ยังสามารถประเมินผู้เล่น และเปรียบเทียบระหว่างบุคคลและ ตามช่วงเวลาต่างๆ ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้เราสามารถตัดสินใจในการเพิ่ม หรือลด ความหนักของการฝึกซ้อมลงได้ หรือแม้กระทั่งตัวแปรอื่นๆ เช่น Eccentric Index, การเปรียบเทียบระยะทางกับความเร่งที่ทำได้ (แม้ระยะทางที่ทำได้จะเท่ากันแต่ความเร่ง ความเร็วอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ไม่เท่ากัน) คุณลักษณะของ Power Event ซึ่งเป็นตัวที่จะใช้ในการพิจารณาถึง การฝึกเพื่อพัฒนาพลัง และ การดูข้อมูลในระหว่างเกมการแข่งขัน จำนวน Power Event ก็ยังสามารถบอกโหลดของนักกีฬาได้อีกด้วย
การให้ข้อมูลย้อนกลับชนิดใดกับนักกีฬาที่คุณเลือกจากตัวแปรที่คุณสนใจ
ผมให้ความสนใจกับแนวโน้ม ของการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต่าง ๆ ตามที่ผมบอกไว้ในคำถามข้อที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลของนักกีฬาทั้งแบบบุคคล และทั้งทีม หลังจาก4-6 สัปดาห์แล้ว ถ้าข้อมูลที่ได้นั้นมีความคล้ายคลึงกัน ทั้งทีม ผมก็จะลงรายละเอียดกับความสามารถเฉพาะบุคคล ตามลำดับ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวปฏิบัติของผม ซึ่งแนวคิดนี้ผมใช้กับข้อมูลที่ได้รับระหว่างการฝึกซ้อม และในการฝึกแต่ละเซสชั่น เช่นผมต้องการตั้งเป้าหมายของการฝึกร่างกายและการฝึกเทคนิค แทคติก ไปพร้อม ๆ กัน แต่ข้อมูลต่าง ๆ นี้จะเห็นชัดในการแข่งขัน ซึ่งสมรรถนะของนักกีฬานั้นจะเป็นเกณฑ์ในการอ้างอิงทั้งหมด เช่น ถ้าข้อมูลจากการฝึกซ้อมนั้น ใกล้เคียงกับข้อมูลในการแข่งขัน นั่นแสดงว่า โปรแกรมการฝึกซ้อมของเรานั้นมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก แต่ถ้าข้อมูลยังห่าง หรือ ไม่มีความสัมพันธ์กัน เราก็ต้องกลับมาปรับโปรแกรมการฝึกซ้อมและจุดที่เราใช้อ้างอิงสมรรถนะของนักกีฬานั่นเอง
แนวทางไหนที่คุณใช้ในการติดตามข้อมูล ที่จะส่งผลต่อการวางแผนของคุณ
เมื่อผมดาวน์โหลดข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว เราจะต้องทำการตรวจสอบข้อมูลว่าถูกต้องและตรงตามวัตถุประสงค์ของโปรแกรมหรือไม่ ในผู้เล่นทุกคน ซึ่งการประเมินข้อมูลนั้นจะต้องแบ่งปันไปสู่นักกีฬา ผู้ฝึกสอน และเจ้าหน้าที่ทีม เพื่อที่แต่ละคนจะได้ปรับปรุงแผนการฝึกซ้อมให้เป็นไปในแนวเดียวกัน ซึ่งพารามิเตอร์ที่ผมให้ความสำคัญนั่นก็คือ ปริมาณพลังงานที่ใช้ในระหว่างการฝึกซ้อม และภายหลังจากการแข่งขัน ซึ่งค่าเฉลี่ย จะอยู่ที่ 24 กิโลจูลต่อน้ำหนักตัวกิโลกรัม ซึ่งอาจจะสูงได้ถึง 103 กิโลจูล ต่อน้ำหนักตัวกิโลกรัมในสองวันสุดท้ายก่อนที่จะทำการแข่งขันในแมทช์ต่อไป สำหรับสามวันแรก ของการฝึกซ้อม เราจะรักษาระดับของพลัง เฉลี่ยที่ใช้อยู่ที่ 8 วัตต์ต่อน้ำหนักตัวกิโลกรัม และ ค่าสูงสุดจะอยู่ที่ 9.3 วัตต์ต่อน้ำหนักตัวกิโลกรัม และค่าต่ำสุดจะอยู่ที่ 6.5 วัตต์ต่อน้ำหนักตัวกิโลกรัม ซึ่งค่านั้นจะเปลี่ยนไปตามความหนักของการฝึกซ้อม มีหนัก มีเบาสลับกันไป และเรายังใช้ข้อมูลนี้ในการปรับสมรถนะ และ แทคติกของนักกีฬาอย่างละเอียด ซึ่งข้อมูลที่น่าสนใจคือ การวิเคราะห์ Mechanical Analysis ซึ่งค่านี้จะเป็นข้อมูลของความเร่ง และการลดความเร็วที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ซึ่งจะสามารถบอกเป็นนัยยะ เกี่ยวกับโปรแกรมการฝึกซ้อมของโค้ชได้ ซึ่งเราสามารถใช้ข้อมูลนี้ในการปรับความหนักของการฝึกซ้อมและจำนวนผู้เล่นในแต่ละเซสชั่น ซึ่งข้อมูลยังบอกเกี่ยวกับระยะเวลาระหว่างการฝึกซ้อมกับระยะเวลาพัก ได้ว่าเพียงพอหรือไม่ และเป็นไปตามสัดส่วนของการฝึกซ้อมหรือไม่ ซึ่งข้อมูลตัวนี้เราพยายามที่จะใช้ข้อมูลทั้งหมดเพื่อปรับปรุงโปรแกรมและโหลดของการฝึกซ้อม ให้เหมาะสมกับนักกีฬามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
คุณได้ใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ Live หรือไม่เพื่อจุดประสงค์อะไร
ข้อมูลแบบเรียลไทม์ Live นั้นมีประโยชน์มาก สำหรับการการวางโปรแกรมและการวิเคราะห์โหลดในแต่ละเซสชั่นของการฝึกซ้อม ซึ่งสามารถสร้างเซสชั่นการฝึกซ้อมแบบเรียลไทม์ได้ทันที และข้อมูลนี้ยังใช้ในการปรับความหนักของการฝึกซ้อม ได้ เช่นการฝึกแบบ Small Size Game ในการปรับปรุงเงื่อนไขของนักกีฬา หรือแม้กระทั่งเพิ่มหรือลดจำนวนนักกีฬาใน Small Size นั้นๆ และนอกจากนี้ผมยังใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ในการกระตุ้นหรือจัดการนักกีฬาที่พยายามรบกวน หรือไม่ซ้อมได้ในทันที และสุดท้าย ผมสามารถใช้ข้อมูลนี้ในการลดความหนักลงภายหลังจากที่มีการฝึกซ้อมเสร็จสิ้นแล้ว โดยผมจะเลือกข้อมูลเฉพาะเซสชั่นที่มีคุณภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้น และตัดระยะเวลาพักระหว่างเซสชั่นออกไป เพื่อพยายามจะได้เฉพาะโหลดที่เกิดขึ้นระหว่างการฝึกซ้อมเท่านั้
มีข้อมูลใดที่มีนัยสำคัญที่เก็บจากการฝึกซ้อมที่สามารถพอจะยกตัวอย่างได้ และอยากแบ่งปันบ้างหรือไม่
ใช่ครับ ผมพิจารณาถึงข้อมูที่ได้รับระหว่างการลงทีม อุ่นเครื่อง กับทีมเยาวชน ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ ซึ่งเราทำทุกสัปดาห์ ซึ่งเราจะใช้เวลาการลงทีมประมาณ 30-35 นาที ซึ่งผมคิดว่าเซสชั่นนี้เป็นข้อมูลที่สำคัญเพราะเราจะใช้ข้อมูลนี้ในการจัดการโหลดของการฝึกซ้อมในวันต่อๆไป และวันก่อนหน้านี้ เช่นผมจะดูว่าใครมีการปฏิบัติมากหรือน้อยกว่าค่าที่ผมตั้งไว้ ก็จะได้รับโปรแกรมการวิ่งหรือ โปรแกรมเสริมอื่นๆ ซึ่งนักกีฬาคนไหนที่ได้ข้อมูลต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทีมก็จะถูกฝึกเสริมพิเศษ เช่น
- ระยะทางรวม 26 กิโลเมตร (3.39 – 5.03)
- `พลังงานที่ใช้4 kJ⋅kg-¹ (15.5 – 23.1)
- พลังเฉลี่ย 8 W⋅kg-¹ (7.5 – 9.7)
- ดัชนีเปรียบเทียบกับระยะทาง 5 % (12.8 – 14.1)
- ดัชนีแอนแอโรบิก 37 % (36 – 38)
- ความเร่ง 5 เมตรต่อวินาที210 (8 – 12)
- การลดความเร็ว 5 เมตรต่อวินาที216 (14-18)
การใช้ข้อมูล โค้ชจะมีวิธีการใช้ข้อมูลอย่างไร
ข้อมูลที่ได้รับในแต่ละเซสชั่น นั้น จะถูกนำมาวิเคราะห์และสื่อสารไปยังโค้ช ในวันถัดไป ในรูปของกราฟฟิก และตาราง ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกนำมาวิเคราะห์และให้ข้อเสนอแนะจากฝ่ายต่างๆ ก่อนเซสชั่นต่อไป ซึ่งจะทำให้เราเห็นภายชัดขึ้น
เราจะสื่อสารข้อมูลที่เก็บได้กับนักกีฬาอย่างไร
การสื่อสารข้อมูลไปยังผู้เล่นจะเห็นแค่รูปแบบของการทดสอบ และถ้านักกีฬาจะมีความรู้สึกเดียวกันคือ ถูกเสมือนว่าถูกจับผิด เมื่อเราใช้เครื่องมีอนี้ในครั้งแรก จากนั้น เราต้องพยายามทำให้เขารู้ และเข้าใจถึงขอบเขตของการวัด และการนำข้อมูลไปใช้ โดยการพยายามทำให้นักกีฬาเข้าใจข้อมูลนั้นได้ง่ายที่สุด เช่น ระดับความสามารถของเขา การที่เขาบรรลุโปรแกรมการฝึกซ้อมแล้ว หรือระดับความก้ามหน้าของเขา นั่นเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างแรงจูงใจของผู้เล่น
คุณใช้เวลามากน้อยเพียงใดในการใช้งานและการวิเคราะห์ข้อมูล
เราใช้เวลาฟุ่มเฟือยไปกับการแต่งตัว ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับระ ในครั้งแรกเราจะใช้เวลาในการอธิบายในการใส่เสื้อกั๊ก และ เปิดการใช้งานอย่างไร รวมทั้งการใส่อุปกรณ์ในทิศทางที่ถูกต้อง ซึ่งนักกีฬาจะทำได้เป็นอัตโนมัติ ในครั้งต่อๆไป ซึ่งใช้เวลาน้อยมาก และเมื่อเสร็จสิ้นจากการซ้อม ก็เพียงถอดแล้ววางไว้ในที่เก็บ ได้ทันที และผมใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการดาวน์โหลดข้อมูลจากอุปกรณ์ ทั้ง 25 ชุด ซึงอาจจะใช้เวลาเพียง 7-10 นาทีเท่านั้น ข้อมูลก็พร้อมที่จะดูได้บน เวบแอพลิเคชั่น ในขณะเดียวกันผมก็จะส่งข้อมูลรายละเอียดในการฝึกซ้อมแต่ละเซสชั่นที่ได้ทำการสร้าง จากไอแพดจะซิงค์ ไปยังเวบแอพลิเคชั่นในทันที ตอนเริ่มต้นผมใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมงในการเรียนรู้การวิเคราะห์แต่ปัจจุบันผมใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการวิเคราะห์ข้อมูล
อะไรทำให้คุณเลือก GPEXEทั้งที่คุณมีประสบการณ์ในระบบติดตามนักกีฬามากมาย
ผมเริ่มใช้ GPEXE เพราะว่าทีมของผมแนะนำมา ผมไม่สามารถเปรียบเทียบกับระบบอื่น ๆ ได้ แต่ผมสามารถเปรียบเทียบกับระบบวัดอัตราการเต้นของหัวใจระยะไกล ได้ ถึงความละเอียดของข้อมูลที่ใช้และข้อมูลที่ได้จาก GPEXE ซึ่งมีความละเอียดมากกว่าการใช้อัตราการเต้นของหัวใจเพียงอย่างเดียว หรือแม้กระทั่งการวัดระยะทาง ความเร็ว ก็ตาม เพราะ GPEXE นั้นสามารถวัดได้กระทั่ง ความเร่ง และการดลความเร็ว (ความหน่วง) ที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งของการสปรินท์ ซึ่งเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับเซสชั่นที่ใช้พลังและความเร็วในการฝึก และสามารถปรับโปรแกรมการฝึกซ้อมได้รวดเร็วและละเอียดกว่า การใช้อัตราการเต้นของหัวใจ หรือ ความเร็ว เพียงอย่างเดียว เช่น ในการฝึกสปรินท์ ถ้าคุณใช้อัตราการเต้นของหัวใจเพียงอย่างเดียว คุณจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อย่างทันที แต่ผมก็ยังใช้ทั้งสองระบบ ทั้ง GPS Tracking และ การฝึกโดยใช้อัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งใน GPEXE นั้นได้รวมทั้งสองระบบเข้าด้วยกัน ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการฝึกซ้อม และการนำไปติดตามความหนัก และโหลดในการฝึกซ้อม ข้อมูลก็เหมือนจิ๊กซอว์ นั่นแหละครับ ถ้าหากคุณมีข้อมูลยิ่งมาก คุณก็ยิ่งเห็นภาพชัด และ ทำให้การปรับ หรือควบคุมโปรแกรมการฝึกซ้อมนั้นมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น