FTP และ Lactate ใช้งานร่วมกันเพื่อความสำเร็จของคุณ

จุดเริ่มล้า VS FTP

ในกีฬาจักรยาน หลายคนมักจะมีคำถามกับคำสองคำคือ จุดเริ่มล้า Lactate Threshold และ Functional Threshold power (FTP)​ ทั้งสองคำนี้ไม่เหมือนกันและใช้งานดีไปคนละแบบ

อะไรคือจุดเริ่มล้า Lactate Threshold

จุดเริ่มล้า นั่นก็คือจุดที่เริ่มมีการสะสมของกรดแลกติกในเลือด โดยปกติแล้ว ถ้าร่างกายออกกำลังกายต่ำกว่าจุดเริ่มล้า การเกิดขึ้นของกรดแลคติก Lactate ก็จะน้อย หรือไม่เกินความสามารถที่ร่างกายนำไปเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน แต่หากเริ่มมีความหนักเพิ่มมากขึ้น กล้ามเนื้อก็ต้องการใช้พลังงานมากขึ้น แหล่งพลังงานที่ใกล้และนำมาใช้ได้อย่างรวดเร็วก็คือ ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อ ที่ย่อยสลายได้เร็ว ได้พลังงานสูง แต่การย่อยสลายไกลโคเจนก็จะได้ผลที่ตามมาก็คือ กรดแลคติก เมื่อความหนักเริ่มเพิ่มขึ้นถึงจุดหนึ่ง การสลายไกลโคเจนเพิ่มมากขึ้น ร่างกายนำไปใช้ไม่ทัน จึงทำให้กรดแลคติกเริ่มสะสมในกล้ามเนื้อนั่นเอง เมื่อแลคติกเริ่มเพิ่มมากขึ้น เขาว่ากันว่า จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการล้า ซึ่งเมื่อร่างกายเกิดอาการล้า จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ถ้าเป็นจักรยาน ความเร็ว พลัง ก็อาจจะลดลง นั่นเอง  ซึ่งการเพิ่มขึ้นนั้นจะเพิ่มขึ้นแบบ Exponential ก็คือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเลยจุดนี้ไป

ในการทดสอบจุดเริ่มล้า นั้น ก็คือ การเพิ่มปริมาณความหนักในการทดสอบโดยใช้โปรโตคอลจำพวก Incremental Test เช่น Ramp Test, Graded Test เป็นต้น เมื่อค่อยๆ เพิ่มความหนักขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกายก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน แน่นอนว่า เราก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของปริมาณกรดแลคติกในเลือด ด้วยที่จะเริ่มเพิ่มขึ้น เพื่ถึงจุดหนึ่งเราจะเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จุดที่หัก และกลายเป็นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นก็คือ จุดเริ่มล้า Lactate Threshold นั่นเอง

อะไรคือ FTP

FTP นั่นก็คือพลังสูงสุดที่นักกีฬาสามารถรักษาระดับได้อย่างคงที่ โดยไม่เกิดการเมื่อยล้า เป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมงและเป็นวิธีการที่ง่าย และไม่ซับซ้อน และไม่ต้องเจาะเลือด รวมทั้งสามารถทำซ้ำ หลายๆครั้งได้ ซึ่งสะดวกในการติดตามพัฒนาการของนักกีฬานั่นเอง

ซึ่งความสามารถสูงสุดในการขี่จักรยานเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง นั่นก็คือ นั่นก็คือ ปริมาณกรดแลคติกก็จะอยู่ในช่วงที่ต่ำกว่า Lactate Threshold นั่นเอง เมื่อกรดแลคติกไม่เพิ่มขึ้น นักกีฬาก็จะสามารถรักษาระดับการขี่ได้อย่างต่อเนื่องนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม พลังต่อเนื่องในการขี่จักรยานหรือ FTP นั้น บางครั้งพลังอาจจะไม่ลดลง แต่ปริมาณกรดแลคติกอาจจะเพิ่มขึ้น ซึ่งนักกีฬาที่ทนทานต่อความล้า หรือมี ความทนทานต่อกรดแลคติก Lactate tolerance ที่ดีนั้น ก็จะสามารถทนต่อการสะสมของกรดแลคติก ได้นั่นเอง อีกนัยนะนึงคือ ปั่น FTP อย่างทรมานต่อกรดแลคติกนั่นเอง

t

ดังนั้น ถ้าในมุมมองของผู้เขียนคิดว่า เราอาจจะต้องดูตัวแปรทั้งสองตัวร่วมกัน ทั้ง FTP และ LACTATE Threshold ในมิติของ การเปลี่ยนแปลงเชิงกล FTP ก็จะเป็นตัวบ่งบอกที่ดี แต่การเปลี่ยนแปลงเชิงกลนั้น ก็จะต้องมีปัจจัยทางสรีรวิทยา นั่นก็คือ จุดเริ่มล้า มาเป็นตัวประกอบด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นการทำ MLSS : Maximal Lactate Steady State นั่นก็คือการหาปริมาณกรดแลคติกสูงสุดที่สถานะคงที่ กล่าวคือแนวคิดของ MLSS นั่นก็คือจะดู Output และ Speed รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของกรดแลคติก ซึ่งเราจะสามารถเห็นได้ว่า เมื่อความเร็วคงที่ พลังคงที่ ปริมาณกรดแลคติก ที่ทำได้สูงสุด นั้นมีค่าเท่าไร นั่นก็คือ Real FTP นั่นแหละครับ เพราะ จุดนี้ ปริมาณกรดแลคติก และพลังจะไม่เพิ่มขึ้น นั่นเอง

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

จักรยานที่ถูกออกแบบมาสำหรับการฝึกและทดสอบ wattbike.com