โหลดภายใน และโหลดภายนอก ในนักกีฬาฟุตบอลมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

vina sport-Training Load-High-Speed

ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการฝึกซ้อมภายในและภายนอก ในนักกีฬาฟุตบอลมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
Marco Montini, Alessandro Fonte

สำหรับการจัดการปริมาณการฝึกซ้อม การติดตามปริมาณความหนักของการฝึกซ้อมนั้นเป็นสิ่งที่เราจะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก จุดประสงค์ของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโหลดของการฝึกซ้อมแบบภายในและภายนอก ที่ส่งผลต่อนักกีฬา รวมทั้งการบริหารจัดการปริมาณการฝึกซ้อมสำหรับนักกีฬา ในการพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาฟุตบอล

แน่นอนว่าจุดประสงค์ของการจัดการปริมาณ และความหนักของการฝึกซ้อมนั้น จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นความสามารถและสมรรถภาพ ของนักกีฬา การประเมินและการติดตามปริมาณการฝึกซ้อมที่มีความแม่นยำ จึงเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อการฝึกซ้อม โดยเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ปริมาณการฝึกซ้อมนั้นเราจะแบ่งออกเป็นสององค์ประกอบสำคัญคือ

1. โหลดภายใน (Internal Training Load : ITL) หมายถึง ปริมาณโหลดที่ส่งผลจากภายในตัวนักกีฬาเอง เช่น ปัจจัยทางด้าน จิตใจ ผลกระทบต่ออารมณ์ หรือเป็นผลมาจากโปรแกรมการฝึกซ้อมที่เราใส่ลงไป แล้วนักกีฬาแสดงออกมา สิ่งนั้นก็คือ การที่นักกีฬามีการตอบสนอง หรือ รับโหลดที่มากระทบต่อตัวของเขานั่นเอง

2. โหลดภายนอก (External Training Load: ETL) หมายถึงปริมาณโหลดใดๆ ก็ตามที่ส่งผลต่อนักกีฬาที่จะต้องฝึกซ้อม เช่น โปรแกรมของผู้ฝึกสอน, การแข่งขัน, ตารางการฝึกซ้อม เป็นต้น ในการศึกษานี้ใช้การวัดด้วยอุปกรณ์ GPS Tracker, GPEXE

ยกตัวอย่างเช่น โค้ชออกโปรแกรมให้กับนักกีฬาคนนึง โหลดภายนอกก็คือ โปรแกรมที่โค้ชออกให้ เมื่อนักกีฬา
มีการกระทำโปรแกรม นั่นก็คือเกิดความเมื่อยล้าขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงของระบบสรีรวิทยาของร่างกายที่เกิดในตัวของนักกีฬา นี่คือ โหลดภายใน ITL ซึ่งนักกีฬาแต่ละคนก็จะมีความสามารถในการรับปริมาณการฝึกซ้อม หรือ โหลด ได้ไม่เท่ากันนั่นเอง และถ้านักกีฬามีสภาพจิตใจที่แย่ เกิดความเครียด ความวิตกกังวล หากนักกีฬาไม่สามารถจัดการแก้ไขได้ โหลดภายใน ก็จะบวกเพิ่มมากขึ้นอีก ตามหลักของความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference) ปริมาณโหลดภายในตัวของนักกีฬาจะมีความแตกต่างกันระหว่างบุคคล ประสบการณ์ เทคนิค องค์ความรู้ ด้วย เมื่อบวกกับโหลดภายนอกที่ได้รับ นักกีฬาจะมีความสามารถจัดการและรองรับโหลดภายนอกได้แตกต่างกันไปแต่ละบุคคล ดังนั้นเทคนิคในการติดตามปริมาณโหลดในการฝึกซ้อมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
โหลดภายนอกนั้น สำหรับกีฬาฟุตบอล แน่นอนว่า ก็จะเป็นการวัดปริมาณการฝึกซ้อม ที่นิยมใช้กันมาก็คือ การวัดระยะทางที่ทำได้ อัตราเร่ง อัตราการเต้นของหัวใจ และนำค่าต่าง ๆเหล่านั้นมาคำนวณเป็นพลังงาน (Energy Expenditure: EE) ที่ใช้ไปในการฝึกซ้อมแต่ละเซสชั่น สำหรับปริมาณการฝึกซ้อมหรือโหลดภายในนั้น เราสามารถใช้ปริมาณความเหนื่อยสัมพัทธ์ s-RPE (Session RPE) ซึ่งสามารถใช้วัดปริมาณความเหนื่อยจากนักกีฬา และตอบสนองต่อการฝึกซ้อมที่ปริมาณความหนักไม่คงที่ และกีฬาประเภททีม
การศึกษานี้ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกในการที่จะวัดปริมาณความหนักสำหรับการฝึกซ้อมสำหรับกีฬาฟุตบอล และใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณ โหลดในการฝึกซ้อมของนักกีฬา ซึ่งสมมติฐานนั้น ใช้การดูการเพิ่มขึ้นของความชันของกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง ITL/ETL ในการดูการพัฒนาของนักกีฬาทั้งทางด้านสมรรถภาพทางกายและการปรับตัวและการตอบสนองต่อโหลดของนักกีฬา

กระบวนการ
เป็นการทดลองเพื่อตอบปัญหาของการศึกษา : ซึ่งเป็นการศึกษาความสัมพันธ์เฉพาะบุคคล ต่อปริมาณโหลดการฝึกซ้อมภายใน และภายนอก (s-RPE และ EE) ในนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ โดยเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคล ซึ่งเป็นประโยชน์ในการดูสถานะของสมรรถภาพทางกายและการรองรับโหลดของนักกีฬาโดยเป็นการเก็บข้อมูลจากการฝึกแต่ละเซสชั่นและเกมการแข่งขั้น ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน 2018 กลุ่มตัวอย่าง: นักกีฬาฟุตบอลอาชีพ ในฟุตบอล กัลโช่ซีรีส์ A จำนวน 19 คน จากนั้นนำข้อมูลจากการฝึกซ้อมในสนาม และเกมการแข่งขันมาวิเคราะห์ โดยรวมถึง การอบอุ่นร่างกาย และการฝึก แทคติก ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์นั้นนำมาหาความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์เชิงถดถอย ระหว่างปริมาณโหลภายใน และปริมาณโหลดภายนอก เปรียบเทียบระหว่างช่วง พรีซีซั่นและอินซีซั่น เราวิเคราะห์ทั้งสาม Micro cycleช่วงพรีซีซั่นระหว่าง 5 กรกฎาคม 23 สิงหาคม (52 วัน) T1: ช่วงเวลา 1 เดือนแรก 5 July – 5Aug T2: 8-20 Aug T3 In Season: 21 Aug – 23rd Sep ซึ่งการติดตามปริมาณการฝึกซ้อมภายนอก ใช้การวัดจากอุปกรณ์ 20Hz GPS) โดยใช้ความถี่ในการวัดที่ 18.18 Hz และ S-RPE นั้นจะได้รับจาก ผลคูณระหว่างปริมาณความเหนื่อยสัมพัทธ์คูณกับระยะเวลาในการฝึกซ้อม เป็นนาที

ซึ่งผลการศึกษาพบว่า
ค่าเฉลี่ยของความชัน ในช่วง first (T1), second (T2) and third (T3) micro-cycles y=0.04849 y= 0.0636 and y=0.0727. ความชันที่เกิดขึ้น ระหว่าง พลังงานที่ใช้ กับ s-RPE นั้นพบว่าค่าความชันมีค่าเพิ่มขึ้น ตามลำดับ ถ้าหากนักกีฬาทั้งสองคนนั้นมีค่าปริมาณการฝึกซ้อมภายนอกที่ใกล้เคียงกัน แต่ก็อาจจะมีความแตกต่างกันถึงระดับความเมื่อยล้าที่แตกต่างกัน (2,7,8) ถ้าหากนักกีฬาสองคนมีระดับความฟิตที่แตกต่างกัน และได้รับโหลดจากโปรแกรมการฝึกเดียวกัน นักกีฬาทั้งสองคนก็จะตอบสนองต่อโปรแกรมในการฝึกซ้อมได้แตกต่างกัน (4,15) ความชันของกราฟนั้นยังขึ้นอยู่กับระดับความฟิตของนักกีฬาด้วย ยิ่งถ้าหากนักกีฬามีความฟิตเพิ่มมากขึ้น T3 (In Season) ค่าความชันของนักกีฬา จากกราฟ s-RPE/ kJ·kg⁻¹ ซึ่งเหตุผลที่ทำให้ข้อมูลจาก s-RPE กับ พลังงานที่ใช้ไปมีความสัมพันธ์กันนน่าจะเกิดจากการพัฒนาขึ้นของสมรรถภาพนักกีฬานั่นเอง
สำหรับการนำ ไปประยุกต์ใช้ นั้นพบว่าข้อมูลเชิงลึก ทั้ง การรับรู้ และ การวัดข้อมูลความต้องการของนักกีฬาด้วยอุปกรณ์ GPEXE นั้นจะทำให้ได้ข้อมูลการติดตามปริมาณการฝึกซ้อมให้มีความเหมาะสม มาก ยิ่งขึ้น สิ่งหนึ่งที่เราสามารถมองเห็นได้จากการศึกษานี้นั่นก็คือ วิธีการในการคำนวณหาปริมาณการฝึกซ้อมภายนอก ที่ใช้ข้อมูลจาก ระยะทาง อัตราเร่ง และการคำนวณ metabolic Power นั้นข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือสำหรับการประเมินโหลดภายนอก และยังมีความใกล้เคียงกันกับปริมาณโหลดภายในที่นักกีฬาได้รับจากการคำนวณด้วย S-RPE นั่นเอง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการกำหนดปริมาณการฝึกซ้อมได้อย่างเหมาะสม www.gpexe.com

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

References:
1. Akenhead, R, Harley, JA, and Tweddle, SP. Examining the External Training Load of an English Premier League Football Team With Special Reference to Acceleration. J Strength Cond Res 30: 2424–2432, 2016.

2. Alexiou, H and Coutts, AJ. A comparison of methods used for quantifying internal training load in women soccer players. Int J Sports Physiol Perform 3: 320–330, 2008.

3. Bourdon, PC, Cardinale, M, Murray, A, Gastin, P, Kellmann, M, Varley, MC, et al. Monitoring athlete training loads: Consensus statement. Int J Sports Physiol Perform , 2017.

4. Brink, MS, Nederhof, E, Visscher, C, Schmikli, SL, and Lemmink, K a PM. Monitoring load, recovery, and performance in young elite soccer players. J Strength Cond Res 24: 597–603, 2010.

5. Carling, C. Interpreting physical performance in professional soccer match-play: Should we be more pragmatic in our approach? Sport Med 43: 655–663, 2013.

6. Coutts, AJ, Rampinini, E, Marcora, SM, Castagna, C, and Impellizzeri, FM. Heart rate and blood lactate correlates of perceived exertion during small-sided soccer games. J Sci Med Sport 12: 79–84, 2009.

7. Halson, SL. Monitoring Training Load to Understand Fatigue in Athletes. Sport. Med. 44: 139–147, 2014.

8. Impellizzeri, FM, Marcora, SM, and Coutts, AJ. Internal and external training load: 15 years on. Int J Sports Physiol Perform , 2019.

9. Impellizzeri, FM, Rampinini, E, Coutts, AJ, Sassi, A, and Marcora, SM. Use of RPE-based training load in soccer. Med Sci Sports Exerc 36: 1042–1047, 2004.
10. Jaspers, A, Brink, MS, Probst, SGM, Frencken, WGP, and Helsen, WF. Relationships Between Training Load Indicators and Training Outcomes in Professional Soccer. Sport. Med. 1–12, 2016.

11. Jeong, T-S, Reilly, T, Morton, J, Bae, S-W, and Drust, B. Quantification of the physiological loading of one week of “pre-season” and one week of “in-season” training in professional soccer players. J Sports Sci 29: 1161–6, 2011.

12. Manzi, V, Impellizzeri, F, and Castagna, C. Aerobic Fitness Ecological Validity in Elite Soccer Players: A Metabolic Power Approach. J Strength Cond Res 28: 914–919, 2014.

13. Di Salvo, V, Gregson, W, Atkinson, G, Tordoff, P, and Drust, B. Analysis of high intensity activity in premier league soccer. Int J Sports Med 30: 205–212, 2009.

14. Scott, BR, Lockie, RG, Knight, TJ, Clark, AC, and De Jonge, XAKJ. A comparison of methods to quantify the in-season training load of professional soccer players. Int J Sports Physiol Perform 8: 195–202, 2013.

15. Wallace, LK, Slattery, KM, Impellizzeri, FM, and Coutts, AJ. Establishing the criterion validity and reliability of common methods for quantifying training load. J Strength Cond Res 28: 2330–7, 2014.