พลาดแล้ว! ถ้าหากใช้แค่ระยะทางรวมและอัตราเร่งสำหรับการฝึกซ้อมฟุตบอล

บทนำ

ปัจจุบันมีการนำ Tracking มาใช้ในกีฬาเป็นอย่างมาก ยิ่งในกีฬาฟุตบอล แต่ถ้าหากเราใช้ข้อมูลไม่ถูกต้อง หรือ เป็นข้อมูลที่หยาบ เราก็จะไม่สามารถพัฒนานักกีฬาของเราได้อย่างตรงเป้าหมายนั่นเอง พารามิเตอร์หนึ่งที่ผู้เขียนเจอบ่อยในการนำมาใช้งานหลายคนมักจะใช้อัตราเร่ง และระยะทางที่ทำได้มาเป็นการประเมินความหนักในการฝึกซ้อมของนักกีฬา วันนี้เราลองมาดูกันว่า ถ้าหากเราใช้เพียงแค่ ระยะทางที่ทำได้ และ อัตราเร่ง คุณอาจจะพลาดจุดสำคัญไปได้

หากนักฟุตบอลลงแข่งในเกมการแข่งขัน นักกีฬาคนแรกทำได้ระยะทางตลอดทั้งเกมที่น้อยกว่านักกีฬาอีกคนที่สอง ถ้าหากคุณเป็นผู้ฝึกสอนคนคิดว่าหนักกีฬาคนใดใช้พลังงานและออกแรงมากกว่ากัน คนแรกหรือคนที่สอง จริงๆแล้วมันเป็นคำตอบที่ยากสำหรับการประเมินความหนักของนักกีฬา ถ้าหากคุณจะใช้เพียงแค่ระยะทางที่ทำได้ Distance Cover ในการประเมินความหนักของเกมการแข่งขันหรือโปรแกรมการฝึกซ้อมของคุณ และมันก็ขึ้นอยู่กับว่าอะไรที่คุณจะให้ความสนใจสำหรับสมรรถนะของนักกีฬาคนนั้น

ระยะทาง Distance

ซึ่งตัวแปรของระยะทางที่ทำได้นั้นเป็นตัวแปรที่มีข้อจำกัดเป็นอย่างมาก และเป็นตัวแปรที่ง่ายและไม่ซับซ้อน แต่บางครั้งนักกีฬาของคุณเองก็จะมีจดอ่อนที่ซ้อนอยู่ที่คุณยังหาไม่พบจากข้อมูล หรือเมทริกซ์ ของข้อมูลที่คุณถืออยู่ในมือ แน่นอนว่า ระยะทางนั้นเป็นการวัดปริมาณของการฝึกซ้อมหรืองานที่ทำในขณะฝึกซ้อม Training Workload แต่ถ้าคุณไม่รู้ว่า ในระยะทางที่เขาทำได้ตลอดเกมการแข่งขันนั้นมันมีปัจจัยอะไรซ่อนอยู่ข้างในบ้าง


จากรูปนี้เราพบว่ารถทั้งสองคันนั้นแล่นได้ระยะทางทั้งหมด 100 กิโลเมตร คันแรกนั้นแล่นบนทางด่วนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร ส่วนอีกคันนั้น แล่นผ่านเมืองที่มีสัญญาณไฟจราจร ปรากฏว่า รถทั้งสองคันจะได้ความเร็วเฉลี่ยไม่เท่ากัน คันที่แล่นบนทางด่วนทำความเร็วได้ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้น้ำมันไปเพียง 3 ลิตร ส่วนอีกคันนึงทำความเร็วเฉลี่ยได้เพียง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้น้ำมันและเวลามากกว่า  จะเห็นได้ว่า รถที่แล่นผ่านใจกลางเมือง ติดไฟแดงจะใช้พลังงานมากกว่า ทำความเร็วได้ต่ำกว่า แต่ทั้งสองคันล้วนทำระยะทางได้ 100 กิโลเมตรเช่นเดียวกัน คันที่แล่นผ่านใจกลางเมืองต้องใช้น้ำมันมากกว่า นั่นแสดงให้เห็นว่า รถคันนั้นจะต้องมีการเร่งความเร็ว เพิ่มพลังงานจลน์ และกลับมาหยุด และก็ต้องเร่งอีกครั้งไปเรื่อยๆ ซึ่งสถานการณ์นี้คล้ายกับนักกีฬาฟุตบอล เราลองมาดูข้อมูลของนักฟุตบอลกัลโช่ซีรีส์ A จากทีมที่ใช้ระบบ GPEXE เราเลือกเฉพาะนักกีฬาที่มีระยะทางในการแข่งขัน 10.5 กิโลเมตร พบว่า นักกีฬาจะมีการใช้พลังงานที่แตกต่างกันต่ำสุดคือ 750 กิโลแคลอรี่ สูงสุดคือ 1000 กิโลแครอลี่ ซึ่งแตกต่างกันเกือบ 30 % แม้จะมีระยะทางทีทำได้เท่ากันคือ 10.5 กิโลเมตร นั่นแสดงให้เห็นว่า นักกีฬาแต่ละคน แม้ระยะทางที่ทำได้จะเท่ากัน แต่รายละเอียดที่ซ่อนอยู่เป็นสาเหตุที่ทำให้การใช้พลังงานที่แตกต่างกัน

 

อัตราเร่ง Acceleration

ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องคำนึงถึงตัวต่อมาก็คือ อัตราเร่ง เป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญที่เป็นตัวแปรของความหนักในการแข่งขัน ที่ EXELIO เราทำงานกันอย่างหนักเพื่อที่จะหาวิธีการประเมินความหนักจากอัตราเร่งนั่นเอง แต่มันก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักที่จะอธิบายเกี่ยวกับระยะทางและความหนักของเกม แล้วเราจะนับจำนวนเหตุการณ์ที่มีการเร่งความเร็วได้อย่างไร โดยปกติแล้ว เราจะมีเทรสโฮล์ดสำหรับอัตราร่งนั่นก็คือ 2.5 เมตรต่อวินาที ถ้าหากผู้เล่นสามารถทำอัตราเร่งได้สูงกว่า 2.5 เมตรต่อวินาที นั่นแดงว่าเขามีการเร่งความเร็ว แต่อย่างไรก็ตามแนวคิดนี้ยังมีข้อจำกัด เราลองจินตนาการสองเหตุการณ์ดู เหตุการณ์แรก ถ้าคุณกำลังเดินอยู่บนทางม้าลายและไฟแดงก็กลายเป็นไฟเขียว คุณก็จะต้องวิ่งอย่างสุดชีวิต นั้นแสดงว่าอัตราเร่งนั้นสูงมาก กับอีกเหตุการณ์นึง คุณกำลังอยู่บนทางด่วน และคุณกำลังตัดสินใจที่จะแซงรถบรรทุกข้างหน้า คุณเหยีบบคันเร่งเพื่อให้รถมีความเร็วเพิ่มขึ้น มันเป็นเรื่องง่ายมากที่คุณจะเพิ่มอัตราเร่งจากสิ่งรถที่มีความเร็วอยู่แล้ว การเพิ่มความเร็วจากความเร็วเดิมเป็นความเร็วที่สูงขึ้นมันง่ายกว่าการเพิ่มความเร็วจากวัตถุที่มีความเร็วต่ำ ให้กลายเป็นความเร็วสูง ผมกำลังหมายถึงอัตราเร่งที่แตกต่างกัน นั่นเอง ซึ่งก็จะใช้พลังงานที่แตกต่างกันด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากเราเริ่มต้นจากการเปลี่ยนจากยืนหรือจ็อก ไปเป็นสปรินท์ คุณก็จะใช้พลังงานค่าหนึ่ง แต่ถ้าหากคุณมีการเคลื่อนที่อยู่แล้วแล้วคุณเปลี่ยนจากการเคลื่อนที่ที่มีความเร็วอยู่เดิมอาจจะเป็นความเร็วที่สูงอยู่แล้ว ให้สูงขึ้นไปอีก เขาอาจจะเร่งความเร็วเพียงนิดเดียว เพื่อให้เลยจุดแบ่งขึ้นไป นักกีฬาทั้งสองคนก็ใช้พลังงานไม่เท่ากันอยู่แล้ว

 

Metabolic Power Event

         สำหรับคนที่ไม่รู้ว่า Metaboilc Power คืออะไรนั่นก็คือการวัดปริมาณพลังงานที่ใช้ทั้งหมด ต่อหนึ่งหน่วยเวลานั่นเอง โดยวัดจากความเร็ว x พลังงานที่ใช้ไปต่อน้ำหนักตัว

E = v X Cr

ในขณะที่เราออกแรงอย่างหนัก เช่น สปรินท์ เป็นระยะเวลาที่สั้นๆมาก เช่นในกีฬาที่มีการเคลื่อนที่แบบสลับช่วงพัก Intermittent Speed ค่าของ Metabolic Power นั้นจะเป็นค่าที่ดีกว่าการใช้ VO2 ในการประเมินความหนัก นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของกระบวนการออกซิเดชั่นในร่างกายเราจะเกิดขึ้นภายหลังจากาการเปลี่ยนแปลงความหนักหรือปริมาณงานไปแล้วนั่นเอง

แน่นอนว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราเร่ง นั้นก็เป็นการเพิ่มขึ้นของปริมาณพลังงานที่ใช้ขึ้นไปด้วยเราลองเลือกข้อมูลนักกีฬาฟุตบอลในกัลโช่ซีรีส์ A ที่มีอัตราเร่งเกิน 2.5 เมตรต่อวินาที จาก 30 เกมการแข่งขัน นั่นหมายความว่า นักกีฬาจะต้องมีการเร่งความเร็วทุกๆ 3 นาที เราเรียกมันว่า  Metabolic power event :MPE ซึ่งจะเกิดซ้ำๆกัน ในหนึ่งเกมประมาณ 160 MPE และแต่ละ MPE ใช้เวลาประมาณ 36 วินาที ลองดูตัวอย่างจากตาราง

ลองดูในช่องของความเร่ง ที่ผู้เล่นทั้งสองคนทำได้ มันแตกต่างกันเป็นอย่างมาก สำหรับการวัดโดยการใช้ Thresholds ในการนับอีเวนต์ของความเร็ว  นี่คือตัวอย่างที่จะบอกว่า ถ้าหากเราใช้เพียงแค่อัตราเร่ง Acceleration เพียงอย่างเดียวนักกีฬาทั้งสองคนนี้มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเช่น แต่ถ้าหากเราใช้ค่า MPE : Metabolic Power Event ปรากฏว่านักกีฬาสองคนนี้แทบจะไม่แตกต่างกันเลย สำหรับความหนักในการฝึกซ้อมหรือแข่งขัน

ปัจจุบันพฤติกรรมของนักฟุตบอลนั้นมีความแตกต่างกันออกไปมากทั้งระหว่างเกมการแข่งขันและการฝึกซ้อม ซึ่งมีตัวแปรที่เราสามารถวัดได้จากระบบ GPS Tracking มากมาย แต่บางทีการที่เราหาข้อมูลสำคัญที่จะเป็นตัวที่คุณจะใช้พัฒนาขีดความสามารถของนักกีฬา และคุณไม่รู้จักใช้ข้อมูลนั้นทำให้คุณสับสนและไม่รู้ว่าจะใช้ข้อมูลอันไหนสำหรับการพัฒนานักกีฬา การปรับปรุงโปรแกรมการฝึกซ้อมสำหรับนักกีฬา นี่คือตัวอย่างที่เราจะได้ไม่ต้องเสียเวลากับการเลือกใช้ข้อมูลที่มีมากเกินไปในปัจจุบัน หากเราเข้าใจหลักและที่มาของข้อมูล