ประสิทธิภาพในการวิ่ง RUNNING ECONOMY:RE

นักวิ่งส่วนใหญ่คงจะเคยรู้จักคำว่า ปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด VO2max กันมาบ้างแล้วนะครับ วันนี้ ผู้เขียนจะขอแนะนำคำว่า ประสิทธิภาพในการวิ่ง Running Economy เนื่องจากว่าคำนี้ยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญคนไทยได้บัญญัติไว้นะครับ

เพื่อให้เข้าใจง่ายๆผมขออนุญาตใช้คำนี้เลยแล้วกันครับ โดยปกติแล้ว ประสิทธิภาพในการวิ่งนั้นก็คือ พลังงานที่ร่างกายต้องการเพื่อให้ทำความเร็วได้ที่ระดับเกือบสูงสุด Submaximal ในการวิ่ง

Image result for boston marathon

 

โดยเราจะทำการวัดปริมาณออกซิเจนที่ใช้ไป หรือ ออกซิเจนที่ถูกสันดาปให้เป็นพลังงาน VO2 และ อัตราการแลกเปลี่ยนแก๊ส (ปริมาณออกซิเจนที่รับเข้าไป หารด้วย ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา) น้ำหนักตัวของนักวิ่งก็มีส่วนสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงเช่นกัน นักวิ่งที่มีอัตราการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ดีจะใช้พลังงานน้อยกว่านักวิ่งที่มีอัตราการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ไม่ดี เพื่อให้เข้าใจง่ายๆผมขอยกตัวอย่างนักวิ่งสองคนที่มีความฟิตเท่ากัน ที่ระดับความเร็วในการวิ่งที่เท่ากัน นักวิ่งคนหนึ่งมีอัตราการแลกเปลี่ยนแก๊สที่สูง ใกล้ๆกับ 1.0 คือ มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาเท่ากับปริมาณออกซิเจนที่รับเข้าไป คาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึนจากกระบวนการหายใจนั่นก็คือ การสลายพลังงานระดับเซลล์นั่นเองครับ นั่นหมายความว่าเซลล์มีการทำงานที่หนักกว่า กับนักวิ่งอีกคนที่มีอัตราการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ต่ำกว่า นั่นหมายความว่า ยังเหลือความสามารถที่ร่างกายยังสามารถเพิ่มความเร็วในการวิ่งได้อีก นั่นเองครับ ดังนั้นประสิทธิภาพในการวิ่งของนักวิ่งคนที่มีค่าการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ต่ำกว่า จึงมีประสิทธิภาพในการวิ่งที่ดีกว่านั่นเองครับ

Image result for Korr medical

ซึ่งจากการศึกษาที่ผ่านๆมาพบว่า มีความสัมพันธ์ในระดับสูงที่เกี่วข้องกันระหว่างประสิทธิภาพในการวิ่งกับความสามารถในการวิ่งระยะทางไกล ครับ ซึ่ง ประสิทธิภาพในการวิ่งนั้นกลายเป็นตัวทำนายที่ดี ซึ่งดีกว่าการใช้ปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุดเพียงอย่างเดียว หรือ เอาง่ายๆก็คือ ประสิทธิภาพในการวิ่งคือการวัด ผลลัพธ์ของการวิ่งนั่นเองครับ โดยเฉพาะนักกีฬาในระดับแถวหน้าของโลกครับ ซึ่งปกติแล้วการวัดประสิทธิภาพในการวิ่งนั้นเราจะทำกันบนลู่วิ่ง ในห้องปฏิบัติการมาตรฐานนะครับ ถึงแม้ว่าความรู้สึกจะไม่เหมือนกับการวิ่งจริงๆ แต่การทดสอบนี้ก็จะให้ตัวบ่งชี้ที่จำเป็นต่อนักวิ่งครับ ว่า จะเพิ่มประสิทธิภาพในการวิ่งให้ประหยัดพลังงานได้อย่างไร แล้ว ประสิทธิภาพในการวิ่งจะเกิดขึ้นอย่างไรในแต่ละช่วงเวลา เพื่อตรวจสอบว่าการเปลี่ยนแปลงของประสิทธิภาพในการวิ่งนั้น สิ่งที่จะต้องระวังก็คือ มาตรฐานของรองเท้าที่จะใช้ในการทดสอบ ระยะเวลาในการทดสอบ และ สภาวะทางโภชนาการของนักกีฬา ซึ่งจะต้องมีการควบคุม เพราะสิ่งเหล่านั้นจะส่งผลต่อความคลาดเคลื่อนในการวัด ภายใต้การควบคุมองค์ประกอบต่างๆที่จะมีผลต่อการทดสอบ ประสิทธาภาพในการวิ่งนั้นจะมีค่าค่อนค้างคงที่ในคนที่มีการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ ตามโปรแกรม เมื่อเราติดตามประสิทธิภาพของการวิ่งภายในกล้าม สิ่งสำคัญก็คือ น้ำหนักตัว ในขณะที่ปริมาณการใช้ออกซิเจนของการทดสอบการออกกำลังกายที่ระดับความหนักเกือบสูงสุด จำนวนของตัวแปรทางด้านสรีรวิทยาและชีวกลศาสตร์ในการวิ่งที่มีผลต่อประสิทธาพในการวิ่งในนักกีฬาที่ได้รับการฝึกและนักกีฬาระดับสุดยอด นั้น นับรวมไปถึง การเปลี่ยนแปลงทางเมตาบอลิค ภายในกล้ามเนื้อ เช่น การเพิ่มขึ้นของจำนวนไมโทรคอนเดรีย และออกซิเดทีฟ เอนไซม์ ประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อในการเก็บและปลดปล่อยพลังงานในการหดตัวแต่ละครั้ง โดยการเพิ่มขึ้นของความแข็งของกล้ามเนื้อ และยังมีองค์ประกอบทางกลศาสตร์ที่จะทำให้ไปสู่การใช้พลังงานให้น้อยลง เช่น การที่ทำให้พลังงานถูกใช้ไปอย่างสูญเปล่าจากแรงเบรก หรือการลดความเร็ว แรงเบรก และ จากการสั่นของร่างกายในขณะทิวิ่ง เป็นต้น

Image result for running economy

องค์ประกอบที่ส่งผลต่อ ประสิทธิภาพในการวิ่ง

กระบวนการที่จะใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการวิ่ง นั้นยังคงถูกค้นหาและคิดค้น โดยนักกีฬา โค้ช และนักวิทยาศาสตร์การกีฬา สองกระบวนการที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายก็คือการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการฝึกที่ระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเล การฝึกความแข็งแรงจะช่วยให้กล้ามเนื้อ มีกระบวนการใช้พลังงานจากการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดจำนวนพลังงานที่สูญเสียไปกับแรงเบรค การฝึกท่ะดับสูงกว่าระดับน้ำทะเลจะช่วยทำให้ระบบเผาผลาญพลังงานของกล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ที่ระดับออกซิเจนต่ำ หรือเบาบาง สิ่งสำคัญที่จะทำให้ประสิทธิภาพในการวิ่งนั้นประสบความสำเร็จนั้นยังต้องมีการค้นคว้าและศึกษาอีกมากมายเพื่อที่จะทำการเพิ่มประสิทธิภาพในการวิ่ง ซึ่งกระบวนการต่างๆนั้นที่จะนำมาประยุกต์ใช้ต้องง่ายและตอบสนองต่อความต้องการของนักกีฬาในการฝึกซ้อมได้ตามต้องการ ครับ

สรุปคือ ถ้าคุณอยากเพิ่มประสิทธิภาพของการวิ่งให้ดี นอกจากการฝึกซ้อมวิ่งแล้ว ยังควรให้ความสำคัญกับการฝึกความแข็งแรง การฝึกแบบพลัยโอเมตริค และการฝึกที่ระดับสูงกว่าน้ำทะเลด้วยนะครับ ในสภาวะออกซฺิเจนเบาบาง ที่สำคัญควรจะติดตาม และควบคุม น้ำหนักตัวของตัวเราตลอดด้วยนะครับ เพราะน้ำหนักตัวส่งผลต่อประสิทธิภาพในการวิ่ง หรือการเล่นกีฬาโดยตรงครับ

  • Bransford DR, Howley ET. Oxygen cost of running in trained and untrained men and women. Med Sci Sports 1977; 9 (1): 41-4
  • Daniels JT. A physiologist’s view of running economy. Med Sci Sports Exerc 1985; 17 (3): 332-8
  • Houmard JA, Costill DL, Mitchell JB, et al. The role of anaerobic ability in middle distance running performance. Eur J Appl Physiol Occup Physiol 1991; 62 (1): 40-3
  • Millet GP, Jaouen B, Borrani F, et al. Effects of concurrent endurance and strength training on running economy and VO2 max (2) kinetics. Med Sci Sports Exerc 2002; 34 (8): 1351-9
  • Paavolainen L, Hakkinen K, Hamalainen I, et al. Explosive strength training improves 5-km running time by improving running economy and muscle power. J Appl Physiol 1999; 86 (5): 1527-33
  • Saunders PU, Pyne DB, Telford RD, Hawley JA. Factors affecting running economy in trained distance runners. Sports Med. 2004;34(7):465-85. Review. PubMed PMID: 15233599.