การวัดอัตราการเต้นของหัวใจนั้นกลายเป็นฟีเจอร์หนึ่งที่เครื่องติดตามระดับกิจกรรมทางกายจำเป็นต้องมี มากกว่าเพียงการนับจำนวนก้าวที่ทำได้ในแต่ละวัน อัตราการเต้นของหัวใจคุณนั้นจะบอกคุณเกี่ยวกับความหนักของหัวใจในการทำงานเพื่อสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงอวัยวะและกล้ามเนื้อ ในขณะออกกำลังกายและในขณะพัก
สำหรับนักกีฬาที่จริงจังกับการฝึกซ้อม และต้องการใช้อัตราการเต้นของหัวใจเป้าหมาย Target Heart Rate Zone ในการฝึกซ้อมนั้น ความแม่นยำของเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจนั้นจะมีผลเป็นอย่างมาก
เพื่อให้การวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้ผลอย่างแม่นยำ ทีมงานเลยพาไปพบกับ ดร.ซูซาน สเตนบวม นักหทัยวิทยาและผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพหัวใจสำหรับผู้หญิง ที่ สถาบันหัวใจและหลอดเลือด แห่งโรงพยาบาลเลนนอกซ์ฮิลล์ ในมหานครนิวยอร์ค โดยภารกิจของเราก็คือ การทดสอบการวัดอัตราการเต้นของหัวใจแบบวัดที่ข้อมือ ของเครื่องฟิตเนสแทรคเกอร์ เทียบกับการวัดโดยใช้ระบบวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ยี่ห้อ ควินตัน รุ่น คาร์ดิแอค ไซน์ คิวสเตรส เทสต์ หรือ ตัววัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ECG นั้นเอง ซึ่งเป็นตัวควบคุม สำหรับการเปรียบเทียบ
โดยการทดสอบของเรา นั้นอุปกรณ์วัดอัตราการเต้นของหัวใจที่เราใช้ในการทดสอบนั้นจะทำงานได้ดี ในการวัดขณะพักและการเดิน แต่จะพบปัญหา เมื่อมีการวิ่ง และ มีเหงื่อออกนั่นเอง อุปกรณ์บางยี่ห้อ นั้นมีค่าที่ได้จากการทดสอบ ต่ำกว่ามาตรฐาน ถึง 4 ครั้งต่อวินาที หรือ บางยี่ห้อนั้นมีผลการทดสอบที่มีค่าขึ้นลง อยู่ที่ 2-3 ครั้งต่อวินาที เทียบกับค่ามาตรฐาน
โดยปกติแล้ว เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ที่เราใช้กันนั้นจะแบ่งออกได้เป็นสองรูปแบบใหญ่ๆ คือ ทำการวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่ข้อมือ และ วัดอัตราการเต้นของหัวใจ โดยใช้สายคาดหน้าอก แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันในเรื่องของความแม่นยำ ของอัตราการเต้นของหัวใจที่ทำการวัด โดยเฉพาะความเที่ยงตรงของการวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่ข้อมือ
สายคาดหน้าอกวัดอัตราการเต้นของหัวใจ เช่น Polar H7 นั้นปกติจะใช้หลักการในการวัดอัตราการเต้นของชีพจร นั้นผ่านทาง สัญญาณอิเล็คทรอนิคส์ โดยตัวสายคาดจะทำการวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG และส่งไปแสดงผลยังนาฬิกาแสดงผล สมาร์ทโฟน หรือ ฟิตเนสแทรคเกอร์
การวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่ข้อมือ เช่น ฟิตบิท แอปเปิ้ลวอทช์ และการมิน นั้น จะใช้การวัดอัตราการเต้นของหัวใจโดยใช้แสง ซึ่งจะมีหลอด LED ส่องแสงผ่านผิวหนังลงไปแล้ววัดการกระเจิงของแสง ที่สะท้อนกลับมายังตัวเซนเซอร์ ซึ่งเลือดนั้นจะมีการดูดกลืนแสง ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของแสงที่เซนเซอร์จะสามารถนำไปประมวลผลเป็นชีพจรได้ ทางอ้อม
นอกจากนี้ยังมีการถกเถียงกันในเรื่องข้อดีข้อเสีย ของสายคาดหน้าอก นั้น จะทำให้รู้สึกไม่สบายเวลาสวมใส่ และทำให้เกิดอาการเจ็บ แต่ก็ให้ความแม่นยำที่มากกว่า การวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่ข้อมือ หรืออีกนัยนึงคือ ความสะดวกสบายในการสวมใส่และต้องมีการปรับให้แน่น และเหมาะสม เพื่อผลที่แม่นยำ ถ้าสายรัดแน่นมากเกินไป หรือ หลวมเกินไป การวัดก็จะขาดเคลื่อนได้ ดร.สเตนเบิร์นกล่าว
เราจะทดสอบอย่างไร
ดร.สเตนเบิร์น ติดอุปกรณ์ที่ตัวผู้เขียน โดยเริ่มต้นติดแผ่นอิเล็คโทรด สำหรับการวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่หน้าอก แขน ท้อง และหลัง เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ ควินตัน สเตส เทสต์ จากนั้นเริ่มต้นการทำงานของลู่กล ในการทดสอบซึ่งการทดสอบจะประกอบด้วยการเดินและการวิ่งที่ความเร็วต่างๆกัน ในขณะที่ทดสอบผมใส่อุปกรณ์ตัววัดอัตราการเต้นของหัวใจประกอบด้วย
- Fitbit Charge HR
- Fitbit Blaze
- Garmin vivosmart HR
- Garmin Forerunner 235
- TomTom Spark Cardio + Music
- Apple Watch
- Polar H7 chest strap
ผลการทดสอบ
แปรผันจากเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ECG Machine | |||
ขณะพัก | เดินเร็ว | วิ่ง | |
Apple Watch | 2-3 | 2 | 2-3 |
Fitbit Blaze | 1-2 | 2-3 | 2 |
Fitbit Charge HR | 1-2 | 2-3 | 4 |
Garmin Forerunner 235 | 1-2 | 1-2 | 2-3 |
Garmin Vivosmart HR | 2-3 | 1-2 | 2-3 |
TOMTOM Spark Carido | 2-3 | 1-2 | 2-3 |
Polar H7 | 1 | 1-2 | 1-2 |
ในขณะที่นั่งพัก อุปกรณ์ทุกตัวแสดงค่าอยู่ภายใน 3 ครั้งต่อนาที เมื่อเทียบกับ ECG และแสดงผลอัตราการเต้นของหัวใจได้อย่างรวดเร็ว
ขั้นตอนต่อไปคือการเดินบนลู่กลโดยใช้เพซ ในการเดินเท่ากับการเดินของคนนิวยอร์ค ซึ่งจุดนี้ อัตราการเต้นของหัวใจจะถูกแสดงที่ 120-130 ครั้งต่อนาที ผมเห็นการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจยี่ห้อต่างๆ จากนั้นดร.สเตนเบิม เพิ่มความเร็วและความชันของลู่กล ผลเริมวิ่งที่ทางนั้นมีความชันขึ้น จุดนี้ อัตราการเต้นของหัวใจของผมกระโดดไปที่ 160-170 ครั้งต่อนที และแขนผมซอยถี่ขึ้นและเริ่มมีเหงื่อออก ซึ่งผมก็เริ่มเห็นประเด็นปัญหาของเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่ข้อมือ นั่นเอง ในการทดสอบนี้ Fitbit Charge แสดงผลได้แย่ที่สุด ซึ่งแตกต่างไปจาก ECG อยู่ 4 ครั้งต่อนาที มีเพียง โพลาร์ Polar H7 ยี่ห้อเดียวที่ยังคงแสดงผลเมื่อเปรียบเทียบกับ ECG อยู่เพียง 1-2 ครั้งต่อนาที และ ในบรรดาเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่ข้อมือ Fitbit Blaze ที่แสดงผลได้ดีที่สุดคือคลาดเคลื่อนไปสองครั้งต่อนที
ประเด็นอื่นๆ คือ เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่ข้อมือนั้น จะแสดงผลได้ช้ากว่ามาก สำหรับความแม่นยำของอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งจะต้องใช้เวลาประมาณ 20-30 วินาที กว่าที่จะแสดงผลได้อย่างถูกต้อง เมื่อผมลดความเร็วลง จะเห็นได้ว่าเครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่ข้อมือ จะค้างไปนิดนึงไม่กี่วินาที ก่อนที่จะแสดงอัตราการเต้นของหัวใจที่ตามหลัง ECG และ Polar H7
ดังนั้นในนักกีฬาที่ต้องการความแม่นยำในการฝึกซ้อม การวัดอัตราการเต้นของหัวใจโดยใช้สายคาดอก จะเป็นเครื่องมือที่ดีในการวัด แต่อาจจะทำให้ไม่สบายบ้างเวลาสวมใส่
เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่ข้อมือ นั้น ก็ให้ข้อมูลอัตราการเต้นของหัวใจในการออกกำลังกายได้ในระดับปานกลาง แต่คุณต้องมั่นใจว่าต้องใส่ให้กระชับและอยู่บนข้อมืออย่างเหมาะสม ไม่หลวมหรือแน่น จนเกินไป รวมทั้งอย่าให้เกิดช่องระหว่างตัวเซนเซอร์กับผิวหนัง ซึ่งจะส่งผลต่อความแม่นยำในการวัด เป็นต้น
ท้ายนี้ ไม่เพียงแค่นักกีฬาที่จริงจังกับการฝึกซ้อมจะกังวลกี่ยวกับอัตราการเต้นของหัวใจในการฝึกซ้อม อัตราการเต้นของหัวใจยังเป็นตัวบ่งบอกถึงการมีสุขภาพโดยรวมที่ดี ดังนั้น อัตราการเต้นของหัวใจจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้คุณไปถึงเป้าหมายการมีฟิตเนสที่ดีของคุณได้ จากบทความนี้ทำให้เราได้ทราบถึงข้อดีข้อเสียของการวัดอัตราการเต้นของหัวใจในแต่ละแบบ นะครับว่ามีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นการเลือกใช้อย่างเหมาะสม จะยิ่งทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในการใช้งานนะครับ
เรียบเรียงจาก Tomsguide