ในตอนแรก เราได้อธิบายเกี่ยวกับ จำนวนอีเวนต์เมตาบอลิก MPE : Metabolic Power Event ไปแล้วเกี่ยวกับว่าเราจะนำข้อมูลนี้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร โดยจะคำนึงถึงสองปัจจัยเป็นหลัก ปัจจัยแรกก็คือ ความต้องการ นั่นก็คือ การที่นักกีฬามีการเคลื่อนที่ โดยเฉพาะจำพวกการสปรินท์ และ ระยะเวลาพัก Recovery Phase นั่นเอง
ในการแข่งขันฟุตบอลเกมหนึ่ง นั้น ปัญหาของทีมงานสตาฟโค้ช มักจะไม่สามารถรู้ว่า นักกีฬาของตนเองที่ลงแข่งขันนั้น มีความหนัก แตกต่างกันหรือ เท่ากัน เพราะบางครั้ง ระยะทางที่ทำได้ (Distance Cover) แทบจะไม่มีความแตกต่างกัน หรือ ค่าเมตาบอลิกพาวเวอร์ ก็แทบจะไม่มีความแตกต่างกัน ทำให้เราคำนวณปริมาณการฝึกซ้อมของนักกีฬาแทบจะไม่แตกต่างกัน แต่แท้ที่จริงแล้ว มันแตกต่างกัน วันนี้เราจะนำท่านไปสู่การแปลผลของการนำค่า อีเวนต์ทางเมตาบอลิก ไปใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะ การเปรียบเทียบความหนักของนักกีฬา
ตัวอย่างที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นนักกีฬาสองคน คนละตำแหน่งกัน นั่นก็คือ มิดฟิลด์ (Midfielder) และ กองหน้า (Attacker) ถึงแม้ว่าจำนวนของ MPE จะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย และข้อมูลอื่นๆแทบจะไม่แตกต่างกัน คำถามก็คือ แล้วใครได้รับโหลดมากกว่ากัน มิดฟิลด์ หรือ กองหน้า สิ่งแรกที่เราจะต้องให้ความสำคัญ ในกีฬาฟุตบอล เนื่องจากกีฬาฟุตบอล ธรรมชาติของกีฬานั้นจะเป็นการเคลื่อนที่แบบหนักสลับช่วงพัก ดังนั้นเราสามารถแบ่งเฟสของการเคลื่อนที่ในนักกีฬาออกได้เป็นสองเฟส
Work Phase นั่นก็คือ เฟสที่มีการเคลื่อนที่ โดยค่าเฉลี่ยของการเคลื่อนที่ในแต่ละครั้งของตำแหน่งกองกลางนั้นจะอยู่ที่ 6.4 วินาที (ค่า Metabolic Power อยู่ที่ 21.8 W/Kg) และในตำแหน่งกองหน้า ค่าเฉลี่ยในการเคลื่อนที่อยู่ที่ 7.2 วินาที (ค่า Metabolic Power อยู่ที่ 24.4 W/Kg) จะเห็นได้ว่า ในเฟสนี้ นักกีฬาในตำแหน่งกองหน้าจะมีค่าสูงกว่า กองกลางประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหมายความว่า ในแต่ละอีเวนต์ที่เกิดขึ้น กองหน้าจะต้องใช้พลังงานมากกว่ามิดฟิลด์ 25 เปอร์เซ็นต์ นั่นเอง
เพื่อให้เข้าใจถึงสถานะต่างๆ เราลองนำข้อมูลมาพล็อตบนแกนเพื่อดูการกระจาย โดยแกนนนอนเป็นระยะเวลา แกนตั้งเป็นความหนัก และนำ ทั้งสองเฟสมาเปรียบเทียบกัน ทั้ง Work Phase และ Recovery Phase เราจะพบว่าผู้เล่นในตำแหน่งมิดฟิลด์นั้นมีค่าของ WorkPhase นั้นอยู่ในตแหน่างที่ใกล้เคียงกับ Team Average แต่ในขณะที่ผู้เล่นตำแหน่งกองหน้า มีความหนักของงานที่ทำและระยะเวลาที่ทำงานนั้นสูงกว่า ทั้งกองกลางและค่าเฉลี่ยทีมมาก นั่นเอง
Recovery Phase ตรงกันข้าม กลยุทธ์ในการจัดการการฟื้นสภาพของนักกีฬา นั้นเราจะเห็นได้ว่า ในผู้เล่นทั้งสองคนนั้นมีระยะเวลาในการฟื้นสภาพ Recovery ใกล้เคียงกันคือประมาณ 30 วินาที ผู้เล่นในตำแหน่งมิดฟิลด์ จะมีความหนักในการพักสูงกว่า นั่นแสดงว่า การเคลื่อนที่ยังคงเกิดขึ้น แต่ลดความหนักลงนั่นเอง โดยค่า Metabolic Power อยู่ที่ 6.4 W/Kg ในขณะที่ Attacker เขาจะลดความหนักลงมากกว่า หรือค่อนข้างจะเคลื่อนที่น้อยกว่านั่นเอง Metabolic Power 5.2 W/Kg ซึ่งน้อยกว่ามิดฟิลด์ถึง 23 เปอร์เซ็นต์ เราก็นำกราฟมาแสดงแบบเดียวกัน
นอกจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างผู้เล่นสองตำแหน่งดังที่ยกตัวอย่างมาให้ดูแล้ว นั้น เราสามารถเปรียบเทียบ ความแตกต่างของตำแหน่งได้ดังต่อไปนี้
กองหลัก Defenders : มักจะอยู่บริเวณกึ่งกลาง คือ ความหนัก และระยะเวลา อยู่ที่ระดับ ปานกลาง Moderate
กองกลาง Midfielders มักจะอยู่บริเวณ ด้านบนซ้ายของกราฟการกระจาย มีระยะเวลาการพักที่น้อยกว่า และมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา
กองหน้า Attackers: มักจะอยู่บริเวณขวาล่างของกราฟ การฟื้นสภาพ นั่นแสดงว่า พวกเขาต้องการเวลาในการฟื้นสภาพมากกว่า และจะเห็นว่าจะยืนเยอะกว่า การเคลื่อนที่
ซึ่งข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ สำหรับกองหน้า ในการฟื้นสภาพภายหลังจากการเปิดเกมรุก ที่รวดเร็ว แน่นอนว่าปริมาณงานที่ทำก็ต้องสูงและระเวลาที่ยาวนานกว่า นั่นก็จะส่งผลต่อการฟื้นสภาพที่ยาวนานกว่า นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลนี้อาจจะต้องดูในเรื่องของเทคนิค แทคติก รวมทั้งทักษะของผู้เล่นแต่ละคน ผู้เล่นบางคนเคลื่อนไวอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้ปริมาณงานไม่สูงมาก หรือ ถ้าแทคติกของทีม ในเกมรับต่ำ และทิ้งกองหน้าไว้ด้านบน เราก็จะเห็น Work Rate ของกองหน้าที่สูง และ Recovery Phase ที่ยาวกว่าของกองหน้านั่นเอง
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า MPE: Metatbolic Power Event จึงเป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้ผู้ฝึกสอนสามารถจำแนกความหนัก ระยะเวลาในการฟื้นสภาพ ระหว่างการแข่งขัน ได้อย่างเหมาะสมและมีความจำเพาะเจาะจงนั่นเอง พบกันใหม่ในบทความต่อๆไป
อ่านเพิ่มเติม
- อีเวนต์เมตาบอลิก สัดส่วนระหว่าง High Intensity กับ Recovery
- โหลดภายใน และโหลดภายนอก ในนักกีฬาฟุตบอลมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
- การจัดการปริมาณการฝึกซ้อมอย่างเหมาะสม