เริ่มต้นการใช้งาน Train.Red อุปกรณ์วัดปริมาณออกซิเจนในกล้ามเนื้อ

วันนี้แอดมินมีบทความเกี่ยวกับการเริ่มต้นการใช้งาน อุปกรณ์วัดปริมาณออกฺซิเจนในกล้ามเนื้อ Train.Red ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่นักกีฬาสามารถพกพาไปได้ในการฝึกซ้อม ทำให้ได้ข้อมูลจริงๆ เกี่ยวกับการฝึกซ้อม และข้อมูลที่ได้มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือ เนื่องจากอุปกรณ์ Train.Red ได้ผ่านการศึกษาและวิจัยโดยมหาวิทยาลัยชั้นนำ ทางด้านการกีฬาและการออกกำลังกาย โดยปกติแล้ว การวัดปริมาณออกซิเจนในกล้ามเนื้อเราจะวัดกันที่ปริมาณออกซิเจน ที่ถูกพาไปโดยฮีโมโกลบิน ซึ่งเมื่อออกซิเจนเกาะอยู่กับฮีโมโกลบิน ก็จะมีความสามารถในการดูดกลืนแสง ในทางกลับกันเมื่อฮีโมโกลบิน ไม่มีออกซิเจน การดูดกลืนแสงก็จะลดน้อยลง ดังนั้นเราจึงสามารถคำนวณหาปริมาณออกซิเจน ในเนื้อเยื่อ TSI : Tissue Saturated Index ได้ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีความแม่นยำ สูงดังนั้นวันนี้เราจึงมีเทคนิคในการใช้งานเพื่อที่คุณจะได้ไม่เกิดความผิดพลาดขึ้นมาฝากกัน

สิ่งแรก : เราจะติดเซนเซอร์ไว้ที่ใด

ตำแหน่งของการติดเซนเซอร์ที่ร่างกายนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราออกกำลังกายหรือฝึกซ้อมกลุ่มกล้ามเนื้อมัดใดเป็นหลัก หรือเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหว แต่คุณก็สามารถประยุกต์หรือหาทางเลือกอื่นๆที่น่าสนใจได้ด้วยเช่นกัน

สำหรับในกีฬายอดฮิตอย่าง ปั่นจักรยาน วิ่ง เราจะติดอุปกรณ์ Train.Red ไว้ที่ขาของคุณ ในขณะเดียวกันถ้าคุณออกกำลังกายด้วยการฝึกความแข็งแรงในยิม ในท่า Bench Press ก็จะต้องติดกล้ามเนื้อไว้ที่กล้ามเนื้อแขน นั่นเอง ในบทความนี้ เราจะเน้นในกีฬาวิ่ง ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในหลายชนิดกีฬา

กลุ่มกล้ามเนื้อ ต้นขาด้านหน้า Qudriceps เป็นกลุ่มกล้ามเนื้อหลักที่มีความสำคัญในขณะวิ่ง แน่นอนว่า ตามชื่อภาษาละติน ประกอบด้วยสี่กล้ามเนื้อหลัก นั่นคือ Rectus Femoris (RS) Vastus Lateralis (VL) ,Vastus Medials (VM) และ Vastus Intermedius (VI) ซึ่งเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่ใช้ในกลารวิ่ง ตั้งแต่จังหวะที่ยืนนิ่ง จนการทิ้งน้ำหนัก แต่กล้ามเนื้อ VI นั้น อยู่ลึกลงไปจากผิวหนังมาก ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะวัด แต่กล้ามเนื้อ สามมัดที่เหลือนั้นสามารถวัดได้ ด้วย Train.Red ซึ่งข้อมูลที่สามารถวัดได้นั้น จะเหมือนกับข้อมูลจาก NIRS ซึ่งกลุ่มกล้ามเนื้อ Quadriceps นั้นจะเชื่อมต่อกับเอ็นที่ผ่านสะบ้า แต่หน้าที่การทำงานจะแตกต่างกันออกไป นั้นเป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมเราจะต้องใช้หลายเซนเซอร์ในการดูการทำงานของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้านั่นเอง

ถ้าเราสมมติว่า เราต้องการควบคุม เพซ ในการวิ่ง หรือ อยากจะดูเรื่องของระยะเวลาในการพักระหว่างการฝึกแต่ละครั้ง การติดตั้งเซนเซอร์จะทำในกล้ามเนื้อที่คุณรู้สึกสบายที่สุด ในระหว่างการทดลอง เราเลือกกล้ามเนื้อ Rectus Femoris 4สำหรับการวิ่ง

เมื่อเข่าของคุณถูกยืดออก คุณจะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อ Rectus Femoris : RF, Vastus Lateralis : VL และ Vastus Medialis: VM ของคุณจะมีการทำงานที่ดี ถ้าคุณลองวัดที่จุดกึ่งกลางมัดกล้ามเนื้อดังกล่าวอย่างเห็นได้ชั

คุณจะนำข้อมูลที่มีคุณภาพจาก Train.Red Sensor ไปประยุกต์ใช้ได้อยางไร

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่ผลต่อคุณภาพขอข้อมูล ในระหว่างที่คุณ ในระหว่างที่คุณปั่นจักรยาน นักกีฬาจะไม่ได้รับผลกระทบของแรงสะท้อนจากพื้น หรือแรงกระแทกแต่หากคุณวิ่งด้วยความเร็วเพิ่มมากขึ้น ลงน้ำหนักมากขึ้น และเพิ่มความเร็วในการวิ่ง  สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นตามมาก็คือ สัญญาณรบกวนที่เกิดจากการเคลื่อนไหว Motion Artifact ควรจะรัดเซนเซอร์ให้แน่น ไม่ให้เลื่อนขึ้นลง หรือรัดแน่นจนเกิดนไป พึงระลึกเสมอว่า กล้ามเนื้อนั้นจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อมีการอบอุ่นร่างกาย เพราะจะมีปริมาณเลือดไปเลี้ยงเพิ่มขึ้น ดังนั้น การวัดข้อมูลด้วย Train.Red มักจะได้ผลที่ดี

ในแพคเกจประกอบด้วยสายรัดยางยืด จำนวน 3 ขนาด ได้แก่ 37,54 และ 69 เซนติเมตรดังนั้นระยะหากรัดได้ จะรองรับระยะได้ตั้งแต่ 18-80 เซนติเมตร โดยปกติแล้วจะรัดแน่นที่สุด ได้เพียงแค่ 140 เซนติเมตร ถ้าหากเกินกว่านั้น จะเกิดการไปจำกัดปริมาณเลือดที่ไหลเวียนไปยังบริเวณดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลต่อความแม่นยำในการวัด ดังนั้น ไม่ควรรัดสายรัดจนแน่นมาเกเกินไป นอกจากนี้ เรายังมีชุด Train.Red 20 ที่เป็นแผ่นสำหรับป้องกันการซ้อนทับของแสง สำหรับกีฬาที่ต้องใช้กล้ามเนื้อในการหดตัวและสร้างแรงอย่างมาก เช่น การสปรินท์ และการกระโดด ซึ่งจะช่วยให้เซนเซอร์นั้นอยู่ติดที่ตำแหน่งเดิม ไม่เลื่อน หรือขยับเมื่อมีการเคลื่อนไหว

 

เราควรจะติดอุปกรณ์บริเวณใด

โดยปกติแล้วเราจะติดอุปกรณ์ไว้บนกล้ามเนื้อ และติดในตำแหน่งที่กล้ามเนื้อสามารถมีการเคลื่อนไหวได้ปกติ และไม่จำกัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ โดยจะต้องเห็นจังหวะที่กล้ามเนื้อหดตัวและคลายตัว ชัดเจน Contact-Relax พยายามให้อุปกรณ์ Train.Red อยู่นิ่งมากที่สุด และไม่ปิดกั้นการไหลเวียนโลหิตนั่นเอง

การป้องกันแสงแดด

เนื่องจากอุปกรณ์ Train.Red นั้น เป็นการวัดการดูดกลืนแสง โดยประมาณ 54 เปอร์เซ็นต์ ของแสงแดด นั้น อยู่ในช่วงคลื่นอินฟราเรด แม้เราจะมีฟิลเตอร์ในการกรองสัญญาณหรือแสงจากธรรมชาติออกจาก Train.Red ก็ตาม แต่ ก็ยังมีบางช่วงคลื่นที่ส่งผลกระทบต่อความแม่นยำในการวัดค่า

ดังนั้นเราจึงขอแนะนำให้ติดอุปกรณ์ป้องกันในวัดทราแสงแดดแรง ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันจะมีลักษณะค้ลางคลึงกับ Kinesiotape ซึ่งจะติดตามส่วนต่างๆได้ โดยไม่เกิดอาการระคายเคือง เพื่อป้องกันแสงแดด ที่จะส่งผลต่อการวัดค่าของอุปกรณ์ แต่ถ้าหากคุณใช้เลคิกิ้ง หรือ กางเกงรัดกล้ามเนื้อ ก็อาจจะช่วยป้องกันได้เช่นกัน การใช้อุปกรณ์ที่สีเข้ม รัดเหนือ Train.Red นอกจากจะช่วยป้องกันแสงแดด ในการวัดแล้ว ยังช่วยทำให้ Train.Red เกิดความมั่นคงไม่เลื่อนไปมา ทำให้วัดข้อมูลอย่างแม่นยำ

สุดท้ายนี้ การใช้อุปกรณ์ Train.Red อุปกรณ์ในการวัดปริมาณออกซิเจนในกล้ามเนื้อ สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงตำแหน่งในการติดอุปกรณ์ กล้ามเนื้อที่จะใช้ในการวัด ตำแหน่งที่จะติดนั้นต้องหลีกเลี่ยงตำแหน่งที่จะเกิดสัญญาณรบกวนที่เกิดจากการเคลื่อนไหว Motion Artifact และ การป้องกันสัญญาณรบกวน จากแสงแดด หรือ แสงธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้ข้อมูลเกิดสัญญาณรบกวนต่อการวัดของคุณ

บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

ข้อมูลเพิ่มเติม