ในปัจจุบัน การวัดพลังในการขี่จักรยานนั้น เป็นแนวคิดหลัก ที่นำไปใช้ในการฝึกซ้อม ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้ เราจะเห็นได้ ว่า การวัดพลังนั้นทำได้ง่ายมากขึ้นและเป็นเรื่องที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและทั่วๆไป
สำหรับนักจักรยาน จนหลายๆคนนั้นโยนนาฬิกาวัดอัตราการเต้นของหัวใจทิ้งไปเลยก็มี และหันไปใช้การวัดพลังในการฝึกเพียงอย่างเดียว แต่จริงๆแล้ว อุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นพาวเวอร์มิเตอร์ และ การวัดอัตราการเต้นของหัวใจนั้น สามารถนำมาใช้งานในการฝึกซ้อมร่วมกันได้เป็นอย่างดี เลยทีเดียว ผมเคยคุยกับ ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ของโพลาร์ Jason Crowe เพื่อคุยกันเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการใช้พาวเวอร์มิเตอร์และ นาฬิกาวัดอัตราการเต้นของหัวใจ จะนำมาใช้งานได้ด้วยกันหรือไม่ ซึ่งคำตอบของเขานั้นน่าสนใจมากเลยทีเดียว
ข้อดีของการใช้พลัง นการฝึกซ้อม
เมื่อคุณฝึกซ้อมบนถนนเรียบในช่วงฤดูหนาว หรือ กำลังปีนไปให้ถึงยอดเขาในช่วงฤดูร้อน ข้อมูลจาก ตัววัดพลังในการขี่จักรยานนั้นจะวัดความสามารถของคุณ เกี่ยวกับ ความชัน สภาพภูมิประเทศ พลังขาที่ใช้ในการขี่จักรยานในรูปแบบต่างๆ การวัดพลังของกล้ามเนื้อนั้น เป็นการวัดการทำงานของกล้ามเนื้อ ว่าทำงานมากหรือน้อยเพียงใด เหมือนกับตอนที่คุณเข้ายิม แล้วยกเวทนั่นแหละครับ ว่า คุณจะยกได้กี่กิโล หนักแค่ไหน ดังนั้นเมื่อคุณใช้พลังในการฝึกซ้อม ด้วยการวัดพลัง นั่นก็คือการฝึกซ้อมกล้ามเนื้อของคุณแบบเฉพาะเจาะจงครับ วัตต์นั้นเป็นค่าคงที่ เหมือนกับน้ำหนักที่คุณใช้เวลาที่คุณเล่นเวท นั่นเอง
แต่ถ้าคุณฝึกตามนักกีฬาจักรยาน คุณจะเห็นว่า เขาจะใช้ พลังในการขี่จักรยานของเขาแตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น แบรดลีย์ วิกกิ้นส์ สามารถใช้พลังถึง 450 วัตต์ ในการปั่นขึ้นเขาเป็นระยะเวลา 30 นาที และ มาร์ค คาเวนดิช สามารถสร้างพลังในการสปรินท์ของเขาสูงที่สุดประมาณ 1500-1800 วัตต์ สำหรับนักกีฬาจักรยาน นั้น ค่าที่ได้นั้นจะสูง ในตอนที่ซ้อมหรือแข่ง ซึ่งจะเป็นวิธีการที่ง่ายในการทดสอบตัวเอง ถึงการเพิ่มขึ้นของระดับความฟิตของพวกเขา แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในช่วงซ้อมหรือแข่งนั้น ค่าที่ได้ ก็จะต่ำลงมาก
ความสำคัญของ อัตราการเต้นของหัวใจ
ในขณะทีคุณค่าของการวัดอัตราการเต้นของหัวใจสำหรับนักกีฬาจักรยานเริ่มลดลง Crowe บอกว่า แม้สิ่งนั้นจะดีกว่าสิ่งอื่นๆก็จริงอยู่ แต่ปรัชญานั่นก็คือ สิ่งที่สมบูรณ์แบบที่สุด คุณอาจะได้ยินนักกีฬาพูดถึงแต่เรื่องพลังขา วัตต์ที่ทำได้ แต่วัตต์มันก็คือวัตต์ ในขณะที่จริงๆแล้ว ระบบสรีรวิทยาวัตต์ที่ทำได้ มันก็มีหลายปัจจัยและตัวแปรที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น คุณจะรักษาพลังขาที่ 250 วัตต์ในการปีนภูเขา Ventoux ภายหลังจากที่คุณขี่จักรยานสบายๆ มา ลองมาเทียบกับ การรักษาพลังขาในการขี่จักรยานในการแข่งขัน ตูร์ เดอร์ ฟรองซ์ มันก็เป็นคนละเรื่องเดียวกัน
ผมชอบเปรียบเทียบเหมือนกับการเปิดเครื่องล้างจานที่บ้าน คนส่วนใหญ่คิดว่า การล้างจานตอนกลางคืน นั้น จะทำให้เราเสียค่าไฟฟ้าที่ได้ถูกกว่าตอนกลางวัน แล้วคุณลองคิดกลับกัน ว่า คุณสามารถสร้างพลังในการขี่จักรยานของคุณ ดังนั้นการวัดอัตราการเต้นของหัวใจจะช่วยให้คุณเห็ฯถึงว่าอะไรคือ ต้นทุนทางสรีรวิทยาที่เป็นผลทำให้เกิดการสร้างพลังในการขี่จักรยานของคุณ ซึ่ง มันจะไม่เหมือนกันเสมอไป ร่างกายของเรานั้นจะตอบสนองต่อความเครียดในการออกกำลังกายหรือการฝึกซ้อมที่แตกต่างกันออกไป และเป็นผลในทางตรงที่เกี่ยวกับสมรถภาพของคุณเมื่ออยู่บนถนน ดังนั้นการวัดอัตราการเต้นของหัวใจระหว่างการฝึกซ้อม จะช่วยให้คุณติดตามสภาวะการฝึกเกิน และ จะต้องฟื้นสภาพ หรือ พักผ่อนเท่าใด ถึงจะเพียงพอ หลังจากการฝึกซ้อมก่อนหน้านี้ และสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับความเมื่อยล้าอื่นๆ ที่จะส่งผลต่อการนอนของคุณ คุณจะไมได้ข้อมูลในสิ่งต่างๆเหล่านี้ ถ้าหากคุณมัวแต่สนใจเพียงแค่พลังขา ของคุณเพียงอย่างเดียว
พลังนั้นเป็นตัวแปรที่เฉพาะเจาะจงของการทำงานของกล้ามเนื้อขา แต่อัตราการเต้นของหัวใจนั้นเป็นตัวที่จะบ่งบอกถึงความพร้อม ของร่างกายได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการที่เรามีข้อมูลทั้งสองตัว จึงทำให้เราสามารถบริหารจัดการฝึกซ้อมของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม
ทำไมพลัง และอัตราการเต้นของหัวใจจึงต้องทำงานร่วมกัน
สำหรับนักกีฬาผู้ที่ซีเรียสกับการฝึกซ้อม และสมรรถนะของตนเองนั้น และต้องการที่จะเห็นการพัฒนาในการฝึกซ้อมและแข่งขัน สิ่งสำคัญที่เหมือนจิกซอว์ตัวใหญ่ นั่นก็คือ ทั้งพลัง และ อัตราการเต้นของหัวใจ จะต้องไปควบคู่กัน สำหรับนักกีฬาจักรยาน คุณต้องการข้อมูลที่มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อัตรากาเต้นของหัวใจ พลังขา รอบขา การพักผ่อน โภชนาการ สภาพอากาศ ระดับความเตรียดและ ระยะเวลาการฝึกซ้อมในแต่ละวัน ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายของคุณ การตอบสนองต่อการฝึกซ้อมและความเครียดต่างๆ และ สิ่งที่จะมากระตุ้นจากสภาวะแวดล้อม ถ้าคุณจะดูเพียงแค่หน่วยใดหน่วยหนึ่งในการฝึกซ้อม หรือ ให้ความสำคัญมากกว่าตัวแปรอื่นๆแล้ว คุณจะก้าวสู่สภาวะการฝึกเกินได้โดยง่าย หรือ ได้รับบาดเจ็บซึ่งเป็นผลเสียอย่างแน่นอนในการฝึกซ้อมของคุณ
ถ้าคุณจะสนใจแต่พลังขาเพียงอย่งเดียว คุณจะพลาดข้อเท็จจริงที่ว่า ร่างกายของคุณจะต้องทำงานอย่างไร ที่จะสร้างงานได้ มาก หรือ น้อยตามที่คุณต้องการ และจะยิ่งทำให้คุณตกลงสู่ก้นหลุมที่คุณขุดไว้เองจากความไม่รู้ และจะต้องใช้เวลานานกว่าจะออกจากหลุมนั้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณเห็นว่า อัตราการเต้นของหัวใจของคุณ นั้นไม่ขึ้นเป็นปกติ นั่นหมายความว่าร่างกายของคุณพยายาม หรือไม่สามารถไปถึงความหนักที่คุณตั้งเอาไว้ มันก็เหมือนทฤษฎีหัวแม่มือ ถ้าคุณต้องการฝึกให้หนัก กว่า ปกติ อัตราการเต้นของหัวใจก็จะต้องสูงกว่าปกติ ดังนั้นคุณก็ต้องให้ความสำคัญกับการพักผ่อนด้วยเช่นกัน
ในขณะที่นักกีฬา สิ่งที่สำคัญที่จะต้องจำไว้ว่า สิ่งสำคัญคือ ความแตกต่างระหว่างบุคคล และ การเปลี่ยนแปลงระหว่างวัน คุณจะเหนื่อย หรือพยายามแค่ไหน ระดับของแรงจูงใจของคุณเป็นอย่างไร หรือ ความขาดหวัง ที่คุณอยากจะพัฒนา ตัวเองให้มากกว่าคนอื่น นี่คือ สิ่งที่ทำให้คุณเห็นว่า ทำไมแนวคิดการฝึกซ้อมและแข่งขัน อย่างเป็นองค์รวม จึงมีความจำเป็นมากกว่า เพราะการที่คุณมีข้อมูลยิ่งมาก ทำให้คุณเข้าใจภาพที่ใหญ่ขึ้นมากกว่าข้อมูลเพียงแค่ส่วนเดียวหรือชิ้นเดียว ความสวยงามของการฝึกซ้อมนั้น เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ แม้ว่าจะคิดว่า หลักการทางสรีรวิทยาสามารถนำไปใช้ได้กับทุกคน แต่จริงๆแล้วไม่เลย เพราะแต่ละคน มีความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะต้องยอมรับ